Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24811
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุมรรษตรา แสนวาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-02T07:07:11Z-
dc.date.available2022-09-02T07:07:11Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24811-
dc.language.isothth_TH
dc.publisherศูนย์บัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒth_TH
dc.titleรายงานการวิจัย เรื่อง การรับรู้สารสนเทศและเจตคติที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนth_TH
dc.title.alternativeการรับรู้สารสนเทศและเจตคติที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชน-
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.subject.keywordการรับรู้สารสนเทศth_TH
dc.subject.keywordการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์th_TH
dc.description.abstractthaiการวิจัยเรื่องการรับรู้สารสนเทศและเจตคติที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชน 2) เพื่อศึกษาเจตคติของเยาวชนที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนจาแนกตามเพศและอายุ และ 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับเจตคติของเยาวชนที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเยาวชน จำนวน 400 คน ผลจากการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 69.00 และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 31.00 มีและส่วนใหญ่อายุ 15 - 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 76.50 และอายุ 21 - 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.50 2. การรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชน โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า เยาวชนมีการรับรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ ด้านวัตถุประสงค์ของการรับรู้ รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาสารสนเทศที่รับรู้ ด้านแหล่งหรือช่องทางที่รับรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุดได้แก่ ด้านประเภทของสารสนเทศที่รับรู้ 3. เจตคติของเยาวชนที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า เจตคติของเยาวชนที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยภาพรวมข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับเจตคติสูงที่สุด มีค่าอยู่ในระดับดีมาก การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จะช่วยทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักประเทศไทยได้มากขึ้น รองลงมามีค่าเฉลี่ยเจตคติอยู่ในระดับดี คือ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยเจตคติต่าที่สุด มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง คือ การท่องเที่ยวที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เป็นการเสียเวลา และเหน็ดเหนื่อย ไม่น่าปฏิบัติ 4. การเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนจำแนกตามเพศ พบว่า เยาวชนที่เพศต่างกันมีการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนจำแนกตามอายุ พบว่า เยาวชนที่อายุแตกต่างกันมีการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับเจตคติของเยาวชนที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า การรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กับเจตคติของเยาวชนที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 กล่าวคือ เมื่อเยาวชนมีการรับรู้สารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มากขึ้น จะทาให้มีเจตคติต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นสูงth_TH
Appears in Collections:IS-Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
IS-Sumattra-S-2563.pdf3.1 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.