Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29638
Title: การจัดการลดความสูญเสียในคลังสินค้า กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำตาล
Other Titles: Lean warehouse management: a case study of sugar manufacturing company
Advisor : ณัฐพงษ์ คงประเสริฐ
Authors: ปณิษฐา เกตุชาญชัย
Keywords: การจัดการคลังสินค้า
แผนผังสายธารคุณค่า
หลักการอีซีอาร์เอส
Issue Date: 2562
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับการลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการคลังสินค้า ได้แก่ กิจกรรมหลัก กิจกรรมสนับสนุน และกิจกรรมสำนักงาน โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารการทำงาน จากการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ลดเวลา ลดระยะทางการเคลื่อนที่ในการทำงานของพนักงาน ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการศึกษาเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนผังสายธารคุณค่า แผนผังการไหลของกระบวนการ และข้อมูลภาระงานต่ออัตราพนักงาน จากนั้นวิเคราะห์หาความสูญเปล่าในกิจกรรมและหาแนวทางแก้ไขปรับลดความสูญเปล่าโดยการประยุกต์ใช้หลักการอีซีอาร์เอส ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานที่ไม่เกิดคุณค่าเพิ่ม วิเคราะห์ความสมดุลของภาระงานต่ออัตราพนักงานหลังการปรับลดความสูญเปล่า เพิ่มทักษะการทำงานให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ผลการปรับลดความสูญเปล่าพบว่า จากการปรับลดความสูญเปล่าจากกระบวนการจัดการคลังสินค้า ส่งผลให้สามารถปรับลดภาระงานของพนักงานลงได้ 4,758 นาที ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานโดยปรับลดอัตราพนักงานแรงงานจ้างเหมาลงได้ 38 อัตรา ปรับลดค่าจ้าเหมาลงได้ 6,263,088 บาทต่อปี
Abstract: The purpose of this research was to lean the waste in warehouse management. Warehouse management can classify the activity as 3 types there are the main activities, supporting activities, and office activities. This research will change the operation of warehouse management by reducing work procedures, reducing time, reducing distance. The study process begins with the study of tools that will be used to show the overall process and waste identification through value stream mapping. The tool used for activities classification was the flow process chart and used the workload data to analyze working time per worker. Then find the cause of waste in activity and find the way to reduce waste by applying the ECRS principle in improvement that non value added activity. After reducing waste and improving the activity, will balance the workload of workers and increase work skills for workers to be more effective. The result of this research found that by reducing waste from the warehouse management resulting in the workload of workers reduced as 4,758 minutes, reduced the workers as 38 workers and reduced the cost of contract workers as 6,263,088 baht per year.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29638
Appears in Collections:IndEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Panittha_K.pdf
  Restricted Access
9.02 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.