Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29629
Title: การศึกษาหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในการขึ้นรูปคอปเปอร์เคลย์โดยการใช้หัวพ่นไฟอเนกประสงค์
Other Titles: A study of suitable conditions on copper clay forming process by multi purpose torch
Advisor : อนุวัฒน์ จุติลาภถาวร
Authors: กวิตา กิจขยัน
ศิริพิชญ์ บุญทน
Keywords: การขึ้นรูป
Issue Date: 2562
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเงื่อนไขในการเผาซินเตอร์โดยใช้หัวพ่นไฟอเนกประสงค์ที่มีผลต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลสำหรับการขึ้นรูปของคอปเปอร์เคลย์ด้วยการปั้น โดยเปรียบเทียบสมบัติกับการเผาซินเตอร์ด้วยเตาอบไฟฟ้า ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากกำหนดเงื่อนไขในเผาซินเตอร์โดยใช้เตาอบไฟฟ้าได้แก่ ชนิดตัวประสานคาร์บอกซิลเมทิลเซลลูโลสและเมทิลเซลลูโลส ที่เปอร์เซ็นต์ตัวประสาน 1%, 3% และ 5% ทำการเผาซินเตอร์ที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกล พบว่าเงื่อนไขที่ผ่านเกณฑ์การผสานตัวสมบูรณ์ ได้แก่ CMC 1%, CMC 3%, CMC 5% และ MC 1% นำเงื่อนไขดังกล่าวไปใช้ในการขึ้นรูปเพื่อทดสอบหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในการเผาซินเตอร์โดยใช้หัวพ่นไฟอเนกประสงค์ โดยกำหนดเงื่อนไขในการเผาซินเตอร์โดยใช้หัวพ่นไฟอเนกประสงค์ได้แก่ ลักษณะการเผาชิ้นงานแบบจ่อและแบบวนรอบ ที่ระยะเวลา 10, 15 และ 20 นาที จากนั้นนำผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลมาทำการวิเคราะห์พบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมในการเผาซินเตอร์โดยใช้หัวพ่นไฟอเนกประสงค์ ได้แก่ ชนิดตัวประสานคาร์บอกซิลเมทิลเซลลูโลส เปอร์เซ็นต์ตัวประสาน 5% ลักษณะการเผาแบบวนรอบ ชิ้นงาน ระยะเวลาในการเผา 20 นาที ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว มีค่าการหดตัวเชิงปริมาตรหลังการขึ้นรูปร้อยละ 12.71 ลักษณะทางกายภาพของชิ้นงานหลังการขึ้นรูปชิ้นงานมีความคงตัวและมีความเป็นเนื้อเดียวกัน หลังการเผาผนึกชิ้นงานมีการผสานตัวสมบูรณ์เป็นเนื้อโลหะทองแดงทั่วทั้งชิ้นงาน มีค่าการหดตัวเชิงปริมาตรหลังการเผาผนึกร้อยละ 39.65 ค่าความหนาแน่นเท่ากับ 4.65 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร โดยนำเงื่อนไขดังกล่าวไปทำการขึ้นรูปและใช้หัวพ่นไฟอเนกประสงค์ในการเผาผนึก ลักษณะการเผาผนึกแบบวนรอบชิ้นงาน เป็นเวลา 20 นาที พบว่าเนื้อชิ้นงานผสานตัวเป็นทองแดงทั่วทั้งชิ้นงาน เนื้อเคลย์สามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายและปั้นเป็นรูปทรงในลักษณะต่าง ๆได้
Abstract: The aim of this engineering project was to study the influence of sintering with multi-purpose torch condition affecting physical and mechanical properties of forming copper clay by comparing sintering properties of electric oven. The study process began with the determination of sintering conditions using an electric oven, which was carboxylmethyl cellulose binder type. And methyl cellulose at the percentage of binders 1%, 3% and 5%. Sintering temperature 900 degrees Celsius for two hours, then the results show that the conditions for passing the standard are CMC 1%, CMC 3%, CMC 5% and MC 1%. Use the above conditions for forming. To test for the suitable conditions for sintering By using a multi- purpose torch. From the above operating conditions, such as the type of burned work at a point and loop at the duration of 10, 15 and 20 minutes, then take the physical and mechanical properties test for analysis. Consequently, the most suitable condition is to use 5% carboxymethyl cellulose binder and to sinter all over the workpiece for 20 minutes. This condition had volumetric shrinkage after forming about 12. 7%. The physical property after forming and drying was in a rigid state. The workpiece was well blended and was able to be molded. After sintering, workpiece was mixed into copper completely. The volumetric shrinkage was 39. 65%, and the density was 4. 65 gram per cubic centimeter. In conclusion, the result of experiment to form and to use multi-purpose torch sinters all over the workpiece for 20 minutes showed that the workpiece was totally merged into copper. Also, the clay was able to be molded easily in many shapes.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29629
Appears in Collections:IndEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Kavita_K.pdf
  Restricted Access
8.34 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.