Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29627
Title: การจัดตั้งมาตรฐานกระบวนการผลิตสำหรับผลิตตู้สวิตซ์ตัดไฟอัตโนมัติ
Other Titles: Standardization of production processses for load break switch
Advisor : สิรเดช ชาตินิยม
Authors: กันต์กวี แก้วแกมคง
นับทอง เบญจกุล
Keywords: สมดุลสายการผลิต
สายการประกอบ
โหลดเบรกสวิตซ์
Issue Date: 2562
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งมาตรฐานกระบวนการผลิตสำหรับตู้สวิตซ์ตัดไฟอัตโนมัติ มีเป้าหมายการผลิตที่ 15 ตัวต่อวัน โดยที่ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีผลิต จึงทำให้มีข้อมูลแค่เพียงตัวต้นแบบผลิตภัณฑ์เป็นข้อมูลช่วยในการจัดตั้งกระบวนการผลิต โดยอาศัยทฤษฎีทางวิศวกรรมอุตสาหการ ได้แก่ แผนภูมิกระบวนการผลิต การศึกษาเวลา ภาพเขียนแบบเพื่อการประกอบ คู่มือปฏิบัติงาน และการจัดสมดุลสายการผลิต จากการศึกษาผลิตภัณฑ์ต้นแบบพบว่ามีกระบวนการ ทำงานย่อยอยู่ทั้ง 22 กระบวนการ ซึ่งได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติสำหรับกระบวนการทำงานย่อย เพื่อให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำคู่มือปฏิบัติงานไปดำเนินการปฏิบัติ สำหรับรวบรวมเวลามาตรฐานเพื่อจัดทำสมดุลสายการผลิต สายการผลิตตู้สวิตซ์ตัดไฟที่ได้ออกแบบ ประกอบด้วยสถานีงานทั้งหมด 11 สถานี โดยใช้พนักงานปฏิบัติการทั้งหมด 14 คน และเครื่องจักร 5 เครื่อง การประเมินประสิทธิภาพสายการผลิตที่ออกแบบพบว่า สายการผลิตจะมีภาระงานอยู่ที่ระดับ 92.86 เปอร์เซ็นต์ และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียสมดุลในการทำงาน 7.14 เปอร์เซ็นต์ สามารถผลิตได้ 16 ตัวต่อวันซึ่งเพียงพอกับ เป้าหมายการผลิต และสามารถตอบสนองต่อความต้องการผลิตขั้นต่ำได้
Abstract: The objective of this engineering project is to set an assembly line for a new model of load break switch product. The required production rate is set to the level of 15 panels per day or higher. Partial information for the specific product is available regarding their experience in assembling of similar products. The study therefore considers a predefined procedure to apply a series of Industrial Engineering techniques such as Operation Process Charts, Time Study, Work Instructions and Line Balancing Method. The study reveals that the prototype product requires 2 2 assembly processes. Therefore, a set of work instructions are created to guarantee the complete production. Set of standard time are then derived for the associated processes. Finally, the method of line balancing is applied to arrange the structure of the assembly line into 11 work stations, 14 operating staffs, and 5 machines. Post-experiment shows that the designed assembly line have the workload efficiency at 92.86 percent, with the theoretical balance delay of 7.14 percent. Production output is at 16 panels per day which conforms to the target level of the new switch model.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29627
Appears in Collections:IndEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Kankawee_K.pdf
  Restricted Access
5.99 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.