Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29624
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสถานีเชื่อมอัตโนมัติของการผลิตชุดท่อทองแดงในเครื่องปรับอากาศ
Other Titles: The increasing work efficiency in the auto brazing station of the production of copper pipe in air conditioners
Advisor : รติรัตน์ กิตติปัญญาพัฒน์
Authors: จุฑาวรรณ หลวงอินทร์
ชุติกาญจน์ สองใหม่
Keywords: กระบวนการเชื่อมอัตโนมัติ
การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
เครื่องเป่าลม
Issue Date: 2562
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมนี้ จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงการทำงานของกระบวนการผลิตชุดท่อทองแดงในเครื่องปรับอากาศของโรงงานตัวอย่าง โดยการดำเนินการวิจัยเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลและศึกษาปัญหาภายในสายการผลิตของกระบวนการเชื่อมอัตโนมัติ พบว่า สถานี Auto Brazing มีพนักงาน 3 คน และมีอัตราการผลิตสูงกว่าความต้องการ หรืออัตราการผลิตสูงไป สมควรทบทวนขบวนการผลิตในสถานีงานนี้ จากนั้น ใช้เทคนิค Why-Why analysis เป็นเครื่องมือในการหารากเหง้าของปัญหา (root cause) และใช้เทคนิค ECRS ในการปรับปรุงการทำงาน โดยใช้การทำงานให้ง่ายขึ้น (Simplify) โดยการเพิ่มอุปกรณ์ในเครื่องเป่าลม ทำให้สามารถเป่าลมให้ชิ้นงานแห้ง และใช้การรวมกัน (Combine) โดยการรวมงานเป่าเข้าด้วยกัน ซึ่งผลจากการปรับปรุง พบว่า ลดการใช้พนักงานจาก 3 คน เหลือ 2 คน และจัดกระบวนการทำงานใหม่โดยไม่มีผลกระทบต่อสายการผลิตหลัก รอบเวลาการผลิตจากเดิม 25 วินาที เป็น 28 วินาที และประสิทธิภาพในการทำงานจากเดิมเทียบกับรอบเวลาการผลิต พนักงานคนที่ 1 ก่อนปรับปรุงทำงาน 10 วินาที คิดเป็น 40 % หลังปรับปรุงทำงาน 23 วินาที คิดเป็น 82 % พนักงานคนที่ 2 ก่อนปรับปรุงทำงาน 16 วินาที คิดเป็น 64% หลังปรับปรุงทำงาน 21 วินาที คิดเป็น 75% ซึ่งการลดการใช้พนักงานส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลงจากเดิม 76800 บาทต่อเดือน เป็น 51200 บาทต่อเดือน
Abstract: This engineering project is designed to improve the operation of the production of copper pipe in air conditioners of the sample factory. Therefore our team decided to apply method of work study in collecting data and studying the Auto Brazing process. The Auto Brazing station operates 3 man and has a production rate higher than the demand or the production is too high, should review the production process in this station. Why-why analysis as a tool for finding the root cause and by using also ECRS by using simplified the equipment that added to facilitate the blower area dried faster and combined the work of the blowing. Number of operator is reduce from 3 man to be 2 man. The cycle time from 25 seconds to 28 seconds and working efficiency from the before improvement compared to the cycle time, the operator1 from working 10 seconds is 40% after the improvement, working 23 seconds is 82% and the operator2 from working 16 seconds is 64% after the improvement, working 21 seconds is 75%. This improvement also decreases cost from 76,800 baht per month to 51,200 baht per month.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29624
Appears in Collections:IndEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Jutawan_L.pdf
  Restricted Access
6.68 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.