Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29621
Title: การจัดทำเวลามาตรฐานสำหรับกระบวนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า
Other Titles: The determination of standard time for the transformer production process
Advisor : รัฐวุฒิ วงษ์วิทย์
Authors: โชติกา ธาราชีพ
Keywords: เวลามาตรฐาน
หม้อแปลงไฟฟ้า
Issue Date: 2562
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเวลามาตรฐานสำหรับกระบวนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อให้สามารถวางแผนอัตรากำลังการผลิตให้สมดุลกับจำนวนการผลิตที่กำหนด โดยมีเป้าหมายในการสร้างฐานข้อมูลสำหรับกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้า จากการศึกษาพบว่าในกระบวนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าของบริษัทนั้น มีการจัดการการวางแผนกระบวนการผลิตที่ไม่มีความแน่นอน เนื่องจากทางบริษัทตัวอย่างไม่ได้จัดทำเวลามาตรฐานของแต่ละกระบวนการผลิต ส่งผลให้กระบวนการผลิตเกิดความล่าช้า ผู้ศึกษาจึงได้จัดทำเวลามาตรฐานขึ้น เพื่อเป็นเกณฑ์ในการวางแผนอัตรากำลังการผลิตให้เหมาะสม โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลด้านเวลาในกระบวนการทำงาน ซึ่งแสดงข้อมูลในรูปแบบตารางและแผนภูมิแท่ง แยกเป็นแต่ละเครื่องจักรและแต่ละผลิตภัณฑ์ แล้วนำมาประเมินผลเกี่ยวกับภาระงานของสถานีงานต่าง ๆ จนสามารถกำหนดมาตรฐานในการทำงานที่เหมาะสมได้ จากการดำเนินการศึกษา ภายหลังการปรับปรุงการทำงานพบว่าเวลามาตรฐานที่ได้ คือ เวลาลดลงจากเดิมสามารถวางแผนกำลังการผลิตให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น จากวิเคราะห์ผลการดำเนินงานพบว่า กระบวนการทำงานของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่นำมาปรับปรุงสามารถลดเวลาการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแท๊งก์แอลบีเอส (Tank LBS) ในกระบวนการพับ เชื่อม และทดสอบรอยรั่ว ลดเวลาได้ 7.69%, 60.08% และ 83.88% ตามลำดับ สามารถลดเวลาการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแมคบล็อค (Mech Box) กระบวนการพับได้ 37.12% และสามารถลดเวลาการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าวีทีแท๊งก์แอลบีเอส (VT Tank LBS) กระบวนการพับได้ 59.3%
Abstract: This engineering project is aimed for determining the standard time of the transformer production process. It will help in capacity planning to be balanced with production plan by creating the database for the process of transformer production. From the study found that the production process was still uncertain due to the company did not have the standard time which cause the delay in production process. As a result, it is required to have a standard working time for being a criteria in capacity planning. The working time data was collected in the forms of table and histogram which obtained from each machine and each product, then it was analyzed for the load of each working station. Consequently, the standard working was determined and used for appropriate work. After the implementation of standard working time, which reduced significantly, the capacity planning is better than before and has more efficiency. From the result, the improvement of each process can reduce the working time for transformer Tank LBS in the process of bending, welding, and leak testing to be 7.69%, 60.08% and 83.88% respectively. For the transformer Mech Box bending time process was reduced by 37.12% and for transformer VT Tank LBS the bending time process was reduced by 59.3%.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29621
Appears in Collections:IndEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Chotiga_T.pdf
  Restricted Access
5.44 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.