Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28378
Title: มาตรฐานผู้สูงอายุในเขตเมือง
Other Titles: The Standard of Elderly Facilities in Urban Areas
Authors: ศุภณัฐ พานา
กฤติยา คันธโชติ
Keywords: ศูนย์บริการผู้สูงอายุ
มาตรฐานทางกฎหมาย
ที่พักอาศัย
ผู้สูงอายุ
การจัดกิจกรรม
Issue Date: 2564
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของศูนย์บริการผู้สูงอายุใน เขตเมืองและเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานทางกฎหมายด้านที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ และการส่งเสริมการจัดกิจกรรม ให้ผู้สูงอายุของศูนย์บริการผู้สูงอายุในเขตเมือง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กับผู้ที่ เกี่ยวข้องกับศูนย์บริการผู้สูงอายุ จำนวน 11 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง โดยมีเกณฑ์สำคัญคือ เป็น ศูนย์บริการที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองของจังหวัดนั้น ๆ และเป็นศูนย์บริการผู้สูงอายุที่เต็มใจให้คณะผู้วิจัยเข้าไปเก็บข้อมูลกับผู้ ให้บริการ ผู้รับบริการ และอนุญาตให้คณะผู้วิจัยนำข้อมูลมาใช้เพื่อการวิจัยได้ จากการศึกษาพบว่า ศูนย์บริการผู้สูงอายุในเขต เมืองมีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาด้านสัดส่วนของผู้ดูแลกับผู้เข้ารับบริการไม่เพียงพอ ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุที่เข้า รับบริการไม่สอดคล้องกับความต้องการของญาติ ปัญหาในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้รับบริการ และปัญหาด้านที่พักอาศัยของ ผู้สูงอายุ โดยพบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความพึงพอใจในศูนย์บริการผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของผู้สูงอายุของกลุ่มตัวอย่างมี ความพึงพอใจในด้านอาคารสถานที่มากกว่าด้านห้องพักอาศัย ส่วนที่ค่อนข้างไม่พึงพอใจ คือ เฟอร์นิเจอร์ไม่มีมุมแหลมที่อาจ ก่ออันตราย ภายในห้องน้ำมีสัญญาณบอกเหตุหรือเตือนภัยที่สามารถรับและส่งสัญญาณ ดังนั้น มาตรฐานด้านที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ คือ ควรมีการตรากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานศูนย์บริการผู้สูงอายุเพื่อ ส่งเสริมมาตรฐานด้านที่พักอาศัยของผู้สูงอายุโดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ห้องพักอาศัย อนามัยสิ่งแวดล้อม ผู้ให้บริการ การจัดการ และการบริการ และด้านการจัดกิจกรรมให้ผู้ใช้บริการของศูนย์บริการผู้สูงอายุในเขตเมืองโดยมีการจัด กิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทำได้อย่างสม่ำเสมอกับกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตชีวา มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มีความรู้เท่าทันยุคสมัยปัจจุบัน และมีความภาคภูมิใจในบทบาทของตนทั้งทางด้านสังคมและ เศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
Abstract: This research uses mixed method—survey and interview. The data were collected from eleven people at an elderly care center in Pathumthani. It aims to study problems that occur in the elderly care centers in urban areas and to propose the legal standard of living accommodation for the elderly and organizing activities for the elderly. The study found that the elderly care center in urban areas has several problems including the proportion of caretakers and service attendees are insufficient, the needs of the elderly are not in accordance with the needs of their relatives, problems in organizing learning activities for elderly, and problems regarding the living areas. The elderly are more satisfied in the overall venue of the elderly center than the residential area. The elderly are somewhat unsatisfied that the furniture has sharp corners that can cause harm. Therefore, the residential standard of the elderly that is in line with the laws and regulations, the government should launch laws that discuss elderly center venues, residential areas, the surrounding environment, caregivers, management teams, and related services. In terms of organizing activities for the elderly, the elderly service center in the urban area should have activities that encourage the elderly to be physically active, allow the elderly to be lively and interact with other people, inspire elderly to be up to date with modern changes, and boost elderly pride in themselves both socially and economically
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 10
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28378
Appears in Collections:Soc-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Soc-Con-Suphanat_P_smarts10-p216.pdf1.09 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.