Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28994
Title: | การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับมายาคติทางการเมืองไทยในปัจจุบัน |
Other Titles: | COVID-19 VACCINE MANAGEMENT AND MYTH OF CURRENT THAI POLITICS |
Authors: | ธนภัทร เสริฐศรี จารุวรรณ ขำเพชร |
Keywords: | ไวรัสโคโรน่า โควิค-19 วัคซีนโควิค-19 มายาคติและการเมืองไทย Corona virus COVID-19 COVID-19 vaccine myths and Thai politics |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Abstract(TH): | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการประกอบด้วย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในสังคมไทยภายใต้ปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ณ ปัจจุบัน และ 2. วิเคราะห์ภาพมายาคติความเชื่อและความเป็นจริงของระบบการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของรัฐบาลไทยในปัจจุบันเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้ให้ข้อมูลหลักมีทั้งหมด 3 กลุ่มโดยทำการเลือกสรรแบบเจาะโจงประกอบด้วยกลุ่มของบุคลากรของภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1 คน กลุ่มของบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 5 คนและกลุ่มประชาชนทั่วไปประกอบไปด้วยกลุ่มรับจ้างทั่วไป กลุ่มพนักงานบริษัท กลุ่มผู้ประกอบและนักธุรกิจ กลุ่มนักเรียนและนิสิตนักศึกษาจำนวน 50 คน โดยการวิจัยการสัมภาษณ์สัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคระห์เนื้อหา ผลการศึกษาสภาพปัญหาในสังคมไทยภายใต้ปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลโดยส่วนใหญ่ผู้คนได้รับผลกระทบเชิงลบมากกว่าเชิงบวกเป็นอย่างมาก หลายคนได้ทำการปรับตัวตามสถานการณ์การไปมากแต่เนื่องจากภาวะสถานการณ์เศรษฐกิจย่ำแย่กว่ายุคก่อนที่จะเกิดโรคระบาดกับปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบสาธารณะสุขที่ทำให้ไปสู่การประทะความเชื่อจนเกิดปรากฏการณ์ย้ายข้างทางการเมืองบวกกับมายาคติจากสื่อหรือ “วาทกรรมทางการเมือง” โดยมี “วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” เป็นตัวแปรสำคัญที่ขั้วของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝั่งเสรีนิยมได้ใช้เป็นเคลื่องมือในการชักจูงง่ายและทำให้เกิดการแบ่งแยกฝั่งการเมืองโดยผู้วิจัยได้แบ่งตามความเชื่อได้ทั้งหมด 5 กลุ่มมายาคติทางการเมืองประกอบด้วยกลุ่มรับมายาคติฝั่งรัฐบาล กลุ่มรับมายาคติฝ่ายค้านกลุ่มไม่รับมายาคติทั้งสองฝ่าย กลุ่มแอบแฝงในมายาคติทั้งสองขั้วและกลุ่มไม่รับรู้และไม่สนใจการเมืองเลย |
Abstract: | This research article has two objectives: 1. to study the problems in Thai society under the current phenomenon of the Coronavirus Disease 2019 and 2. to analyze the myths, beliefs and reality of the administrative system. Currently, the Thai government's COVID-19 vaccine management is a qualitative research. There are 3 groups of key informants by selectively selecting groups of government personnel involved in disease management. 1 person infected with Coronavirus 2019, a group of medical personnel of 5 people and a group of general people consisting of a group of general contractors company employees Group of entrepreneurs and business people A group of 50 students and university students by research, interviews, in-depth interviews and content analysis. Results of the study of problems in Thai society under the phenomenon of the corona virus infection 2019 According to interviews with most of the respondents, people were more negatively affected than positively. Many people have adapted to the situation a lot, but due to the worse economic situation than before the epidemic with the structural problems of the public health system that caused the belief to the side of the road. Politics plus myths from the media? “Political discourse” with “coronavirus 2019 vaccine” being an important variable used by the conservative and liberal poles as a tool to persuade and cause political divisions by those The research can be divided according to beliefs into 5 political myth groups, consisting of groups receiving government myths. The group accepts the myth of the opposition, the group does not accept the myth of both parties. The covert group in the myths of both poles and the group does not know and is not interested in politics at all. |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28994 |
Appears in Collections: | Soc-Conference paper |
Files in This Item:
File | Size | Format | |
---|---|---|---|
Soc-Art-Thanapat-S-2566.pdf | 4.15 MB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.