Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29716
Title: ปัญหากระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในวุฒิสภา
Other Titles: Problems Concerning the Impeachment of Persons Holding Political Position in the House of Senator
Authors: ภูมิ มูลศิลป์
Issue Date: 2554
Abstract(TH): ในระบอบประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) นั้น นอกจากประชาชนจะสามารถใช้สิทธิในการเลือกบุคคลเข้าไปเป็นผู้แทนของตนในการออกกฎหมายหรือปกครองบ้านเมือง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อมในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ประชาชนยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องผู้แทนของตนให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยประชาชนสามารถเรียกคืนการใช้อำนาจอธิปไตยของผู้แทนได้ด้วยการถอดถอนผู้แทน (Impeachment) ออกจากตำแหน่งตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดหากผู้แทนเหล่านั้นมิได้กระทำการให้สมกับความเป็นผู้แทนของประชาชน ซึ่งในทรรศนะของ รุสโซ (Jean-Jaegues Rousseau) นั้น ผู้แทนเป็นเพียงกรรมการที่ประชาชนตั้งขึ้นเท่านั้น (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. 2547: 68-69) เมื่อผู้แทนเป็นเพียงกรรมการที่ประชาชนตั้งขึ้น ประชาชนจึงมีอำนาจในการเรียกอำนาจอธิปไตยของตนคืนได้ สำหรับการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูงอย่างชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งในระหว่างที่รัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อยู่ ได้มีความพยายามในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายครั้ง แต่ยังไม่มีกรณีใดเลยที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกยื่นถอดถอนจะถูกถอดถอนได้สำเร็จดังที่จะได้กล่าวต่อไปในบทความนี้
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/30240
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29716
Appears in Collections:Soc-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.