Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29010
Title: วิธีการจัดหมวดหมู่ผู้เล่นคนเดียวกับผู้เล่นหลายคนภายในสนามฟุตบอล
Other Titles: A method of classification single player and multiple players on soccer field
Advisor : ฑีฆพันธุ์ เจริญพงษ์
Authors: พชร ตุ้มทอง
Keywords: การจัดหมวดหมู่ผู้เล่น
การวิเคราะห์ตำแหน่งผู้เล่น
การประมวลผลภาพ
Issue Date: 2565
Publisher: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): การวิเคราะห์ตำแหน่งผู้เล่นจากตำแหน่งลํ้าหน้า เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลสำคัญอย่างมากต่อผลลัพธ์ ชองการแข่งขันฟุตบอล ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ตำแหน่งผู้เล่นแต่ละคน คือ การจัดหมวดหมู่ผู้ เล่นในสนามฟุตบอล ซึ่งการจัดหมวดหมู่ของผู้เล่นในสนามฟุตบอลเป็นปัญหาที่ท้าทายมาก โดยโครงงาน วิศวกรรมนี้ได้เสนอวิธีการจัดหมวดหมู่ผู้เล่นคนเดียวกับผู้เล่นหลายคนภายในสนามฟุตบอล โดยใช้วิธีการ ประมวลผลภาพ (Image Processing) นำมาใช้กับภาพที่ได้มาจากวิดีโอถ่ายทอดสดที่ได้รับการเผยแพร่ทาง อินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ผู้เล่นคนเดียวกับผู้เล่นหลายคนบนสนาม ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีทั้งหมด 5 กระบวนการ ประกอบด้วย 1) กระบวนการก่อนประมวลผลภาพ (preprocessing) 2) กระบวนการแบ่งส่วนพื้นที่เฉพาะของผู้เล่น (player’s area segmentation) 3) กระบวนการตรวจหา ขอบภาพ (edge detection) 4) กระบวนการหาลักษณะเด่นของภาพ (find features of image) 5) กระบวนการจำแนกประเภท (classification) เริ่มต้นจากกระบวนการจำแนกสนามหญ้าออกจากภาพ เพื่อให้ ได้เฉพาะพื้นที่ที่เป็นสนามฟุตบอลเท่านั้น ต่อมาคือกระบวนการตรวจจับผู้เล่น ได้ผลลัพธ์เป็นภาพทีมการ ตรวจจับผู้เล่นในสนามฟุตบอล และได้คุณสมบัติของผู้เล่นออกมา โดยมีพื้นที่ พิกัด และจำนวนพิกเซล จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการแบ่งส่วนพื้นที่เฉพาะของผู้เล่น โดยนำคุณสมบัติที่ได้จากกระบวนการก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นนำตำแหน่งเหล่านั้นมาลบออกจากภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของกระบวนการ เข้าสู่กระบวนการ ตรวจหาขอบภาพ และนำขอบภาพที่หาได้จากกระบวนการก่อนหน้านี้ เข้าสู่กระบวนการหาลักษณะเด่นของ ภาพ เพื่อเก็บชุดข้อมูลไว้จากนั้นนำชุดข้อมูลภาพที่เก็บมาเข้าสู่กระบวนการจำแนกประเภท จากการทำการ ทดลองกระบวนการจำแนกประเภท (classification) ใช้วิธีการจำแนกประเภทของข้อมูลประเภทชนิด Decision Tree ประเภท Coarse Tree โดยการดำเนินดังกล่าวจะดำเนินการกับภาพกลุ่มตัวอย่างจำนวน ประมาณ 400 ภาพ ใช้ 6 คุณลักษณะเด่น ได้แก่ ค่า Variance แกน y , ค่า Variance แกน X , อัตราส่วนของ ค่า Variance แกน X ต่อ แกน y , ความยาวของพิกเซล , ความกว้างของพิกเซล และอัตราส่วนของความกว้าง ของพิกเซลต่อความยาวของพิกเซล โดยมีการนำชุดข้อมูลไปตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการการตรวจสอบแบบ ไขว้แบบกลุ่ม (K-Folds cross validation) ซึ่งแบ่งข้อมูลออกเป็น 5 Fold ละเท่า ๆ กัน ซึ่งโครงงานวิศวกรรมนี้ มีการแบ่งข้อมูลสำหรับสอบ (training data) 80% และฃ้อมูลสำหรับทดสอบ (testing data) 20% ซึ่งได้ผลลัพธ์ ที่มีค่าความแม่นยำเฉลี่ยร้อยละ 85.30, ค่า Sensitivity เฉลี่ยร้อยละ 85.53 และค่า Specificity เฉลี่ยร้อยละ 85.09
Abstract: Player position analysis from offside position which is an important event that affects outcome of football match. An important step to player position analysis of each player is a soccer team classification. The classification of football players on the field is a very challenging problem. เท this research, we propose a method for classification single player and multiple players on soccer field using image processing techniques on broadcast video obtained from the internet. เท order to classify single player and multiple players on the soccer field. There are 5 steps in total, consisting of 1) image preprocessing, 2) player’s area segmentation 3) edge detection, 4) find features of image 5) classification. Firstly, segment foreground objects, the soccer ground field is removed by comparing the green color level with a threshold. The other part is the player detection process. The result is an image with players detected on the football field. And get the player's properties out with area, coordinates and number of pixels. Then import into the process of player’s area segmentation and bringing the properties after that remove those positions from the image to get the result of the process. Next edge from the previous process into the process find features of image to store the dataset into the classification process. From the experimental classification process used Decision Tree classification, in this process was performed on a sample of about 400 images using 6 features that is the y-axis variance, the x-axis variance,ง the ratio of x-axis variance to y-axis variance, pixel length, pixel width, and the ratio of pixel width to pixel length. The data set was used to verify the data by K-Folds cross validation, which divides the data into 5 folds equally. There were 80% of training data and 20% of testing data, which resulted in accuracy is 85.30%, sensitivity is 85.53% and specificity is 85.09%
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29010
Appears in Collections:BioEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Pachara_T.pdf
  Restricted Access
5.42 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.