Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29005
Title: แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ราคาต่ำที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
Other Titles: GUIDELINES FOR LEVYING VALUE ADDED TAX ON LOW-VALUE E-COMMERCE SHIPMENTS IMPORTED VIA INTERNATIONAL POST
Authors: รุ่งโรจน์ อุปรัตน์
กัลยา แซ่อั้ง
Keywords: ภาษีมูลค่าเพิ่ม
สินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ราคาต่ำ
ไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
Value Added Tax
Low-value e-Commerce Shipments
International Post
Issue Date: 2566
Publisher: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ราคาต่ำที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศของประเทศไทยในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ราคาต่ำที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศของประเทศไทย ทั้งนี้ งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ข้าราชการในสังกัดกรมศุลกากรทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ รวมทั้งเป็นตัวแทนคณะทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นำเข้า และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จำนวนรวมทั้งหมด 7 คน สำหรับเอกสารที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ กฎหมายและระเบียบของกรมศุลกากร กฎหมายภาษีอากรของต่างประเทศ รายงานผลการศึกษาขององค์การระหว่างประเทศและเอกสารทางวิชาการจำนวน 7 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพและปัญหาของ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ราคาต่ำที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศของประเทศไทยในปัจจุบันไม่มีปัญหา เนื่องจากยังไม่เคยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าในกลุ่มดังกล่าวมาก่อน อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่ไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าในกลุ่มดังกล่าวได้ส่งผลกระทบใน 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วยการสูญเสียรายได้ของรัฐ ต้นทุนในการจัดเก็บภาษีอากรสูงกว่ารายได้ที่จัดเก็บ การบิดเบือนการแข่งขันทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าภายในประเทศและผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการสำแดงราคาต่ำและการฉ้อฉลทางด้านหีบห่อพัสดุ ทั้งนี้ หากในอนาคตประเทศไทยจะเริ่มจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าในกลุ่มดังกล่าวก็ยังมีปัญหาหรือข้อจำกัดต่าง ๆ ในการจัดเก็บ ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการ และด้านทรัพยากรบุคคล และ 2) แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ราคาต่ำที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศของประเทศไทย พบว่า แนวทางที่สามารถนำมาใช้ใน การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ราคาต่ำที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ของประเทศไทย ได้แก่ การปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีอากรแบบดั้งเดิม และการใช้วิธีการจัดเก็บภาษีอากรจากผู้ขายที่อยู่ในต่างประเทศร่วมกับวิธีการจัดเก็บภาษีอากรจากตัวกลางในการขายสินค้า
Abstract: This research aimed to: 1) study the current state and problems of levying value added tax on low-value e-commerce shipments imported via international post in Thailand; and 2) to study guidelines for Thailand in levying value added tax on low-value e-commerce shipments imported via international post. This is a qualitative study in which the key informants are Customs Department officials at both the policy and operational levels who are directly responsible and have knowledge, expertise, and experience in levying value added tax on imported low-value e-commerce shipments, as well as officials who are representatives of working groups related to such levying, totaling 7 people. The documents used in the analysis are the laws and regulations of the Customs Department, the tax laws of foreign countries, study reports of international organizations, and academic papers, totaling 7 papers. To gather data, this research used document analysis and in-depth interviews, followed by content analysis to qualitatively analyze the data. The research's results revealed that the current state and problems of levying value added tax on low-value e-commerce shipments imported via international post in Thailand are not currently problematic; this is because levying value added tax on such shipments has never previously been imposed. However, the absence of the aforementioned value added tax levying has had a significant impact on four major areas, namely the loss of government revenue, higher costs in tax collection than revenue collected, distortion of trade competition between resident vendors and non-resident vendors, as well as low price declaration and parcel fraud. However, if Thailand begins levying value added tax on such goods in the future, there are still issues or constraints in levying, such as legal issues, management issues, and human resource issues. Additionally, the research founded that there are 2 guidelines for Thailand in levying value added tax on low-value e-commerce shipments imported via international post. The first is to improve traditional levying methods, and the second is to combine the method of levying taxes from non-resident vendors with the method of levying taxes from intermediaries.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29005
Appears in Collections:Pol-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Soc-Art-Rungrot-U-2566.pdf5.93 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.