Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28981
Title: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของ กลุ่มช่วงวัยทำงาน: วิเคราะห์เมต้าและโมเดลเชิงสาเหตุ
Other Titles: Health Literacy in Using Food Complementary Product among Working Age Group:: Meta-Analysis and Causal Model
Authors: อังศินันท์ อินทรกำแหง
พิชชาดา ประสิทธิโชค
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
วิเคราะห์เมตา
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
Health literacy
dietary supplement use
meta analysis
systematic review
causal model
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มช่วงวัยทำงาน และ เปรียบเทียบผลของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มช่วงวัยทำงาน และ 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและค้นหาขนาดอิทธิพลที่มีต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและพฤติกรรมสุขภาพพอเพียงของผู้ใหญ่วัยทำงาน โดยการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 ถึง ค.ศ. 2021 ในฐานข้อมูล PubMed, SCOPUS, ClinicalKey, Google Scholar และการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มช่วงวัยทำงาน Thai Journals Online (ThaiJO) ได้บทความวิจัยที่ผ่านการคัดเลือก 25 ฉบับ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของโคเฮน (Cohen’s d) และระยะที่ 2 เป็นการศึกษา SEM โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใหญ่ไทยวัยทำงานที่มีอายุ 20-59 ปี 696 คน ด้วยการสุ่มแบบ Cluster Random Sampling เก็บข้อมูลด้วยแบบวัด rating scale 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.93 ถึง 0.96 วิเคราะห์ด้วย SEM ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มวัยทำงานมีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.423 (95% CI = 0.249-0.598) รองลงมาคือ การเปิดเผยการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.220 (95% CI = 0.087-0.353) ส่วนความรอบรู้ด้านสุขภาพ ไม่มีผลต่อความตระหนักรู้โฆษณาเสริมอาหาร การค้นพบนี้มีนัยสำคัญทางสาธารณสุข นำไปสู่การพัฒนา interventions และพัฒนา นโยบายในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสร้างเครือข่ายดูแลการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของทุกภาคส่วน ผลการศึกษาระยะที่ 2 พบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่าดัชนีความกลมกลืนที่ยอมรับได้ 2) การสนับสนุนทางสังคม ความตระหนักรู้โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมสุขภาพพอเพียง (ค่าเบต้า เท่ากับ 0.33, 0.20 และ 0.13 ตามลำดับ, P<.05) โดยปัจจัยทั้งสาม ร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพพอเพียง ได้ร้อยละ 34.00, และ3) การสนับสนุนทางสังคม และความตระหนักรู้โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม มีอิทธิพลทางตรงต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม (ค่าเบต้า เท่ากับ 0.36 และ 0.57 ตามลำดับ, P<.05) โดยปัจจัยทั้งสองร่วมกันทำนาย ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ได้ร้อยละ 67.00
Abstract: The purposes of this study were to 1) investigate the characteristics of research on health literacy (HL) in dietary supplement use (DSU) and compare HL among working-age groups and 2) investigate the causal model and effected size of HL in DSU and sufficiency health behavior. This study was divided in 2 phase: Phase 1 Studied by reviewing related research between 2011 and 2021 in PubMed, SCOPUS, ClinicalKey, Google Scholar and ThaiJO. Twenty-five articles that met the inclusion criteria were selected for study and analyzed using Cohen’s d. Phase 2 Studied by SEM with the sample group 696 working Thai adults aged 20-59 years by cluster random sampling. The data collected by 5 rating scale questionnaires with alpha coefficient 0.93-0.96 and analyzed by SEM The results in phase 1: showed that HL affected dietary supplement (DS) consumption behavior among working-age groups with an average effect size of 0.423 (95% CI = 0.249-0.598), followed by disclosure of DSU with an average effect size of 0.220 (95% CI = 0.087-0.353). No effect was found on awareness of dietary supplement advertisements. The discovery of such knowledge is a significant contribution to public health, leading to the development of interventions and policies for enhancing HL in DSU e.g. organizing knowledge-sharing workshops on DSU and building support networks across all sectors. The results in phase 2 found that the causal relationship model had consistency with the empirical data acceptable, 2) social support, awareness of dietary supplement advertisements, HL in DSU had directly affected to sufficiency health behavior (beta = 0.33, 0.20 and 0.13 respectively, P< 0.05). The all factors could predict sufficiency health behavior 34%. And 3) the social support, and awareness of dietary supplement advertisements had directly affected to HL in DSU (beta = 0.36, and 0.57 respectively, P< 0.05), and the 2 factors could predict HL in DSU equal 67%.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28981
Appears in Collections:Bsri-Technical Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bsri-Res-Ungsinun-I-2564.pdf1.79 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.