Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28504
Title: การดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในลูกจ้างวัยรุ่น ของสถานประกอบกิจการในจังหวัดชลบุรี
Other Titles: The Implementation of Preventing and Solving Pregnancy for Adolescent Employees of Business Establishments in Chonburi Province
Authors: หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์
Keywords: การตั้งครรภ์
ลูกจ้างวัยรุ่น
สถานประกอบการ
Adolescent Pregnancy
Adolescent Employees
Business Establishments
Issue Date: 2565
Abstract(TH): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ เพื่อสำรวจการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในลูกจ้างวัยรุ่นของสถานประกอบกิจการในจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อและอุปสรรคการดำเนินงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในลูกจ้างวัยรุ่นของสถานประกอบกิจการในจังหวัดชลบุรี เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณจากข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสถานประกอบกิจการ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนายจ้างหรือผู้ประกอบกิจการด้านบริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีลูกจ้าง 1-15 คน ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 14 คน ในเดือนกรกฎาคม 2564 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีตำแหน่งปัจจุบันในสถานประกอบกิจการเป็นเจ้าของกิจการ ทุกคน สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ดำเนินกิจการระหว่าง 1-10 ปี มีจำนวนลูกจ้าง 6-10 คน และมีทั้งลูกจ้างผู้หญิงและผู้ชายให้เคยและไม่เคยให้คำแนะนำ ให้และไม่เคยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและ การตั้งครรภ์ และมีความเห็นว่าเป็นหน้าที่ของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น ในส่วนอุปสรรค พบว่า เจ้าของกิจการไม่ทราบกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการดำเนินการของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น พ.ศ. 2561 และ การไม่สนใจคำแนะนำของเจ้าของสถานประกอบกิจการ สำหรับปัจจัยที่เอื้อ คือ ความคิดเห็นที่สามารถดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ ได้
Abstract: This research consists of two purposes including surveying an implementation of preventing and solving pregnancy for adolescent employees of business establishments in Chonburi Province and studying obstacles and contributing factors of the implementation. The research employs the mixed methodology composing of the quantitative data from a personal and business establishment questionnaire and the qualitative data from personal interviews. Fourteen informants interviewed in July 2021 are owners of the food and beverage service businesses in Muang District, Chonburi Province. The results find that most informants are women and owners of the business opening from one to 10 years and employing from 6 to 10 persons both women and men. The informants indicate that they provide and do not provide suggestions and assistance on family planning and pregnancy and agree and do not agree on their roles on the implementation of preventing and solving pregnancy for adolescent employees. For the obstacles, the results indicate that the business owners do not know that the Ministerial Regulations on Business Establishment Category and an Implementation of Preventing and Solving Pregnancy for Adolescent Employees of Business Establishments B.E. 2561 and mention the self-confidence of the teenagers. Furthermore, the informants agree that they can follow the Ministerial Regulations.
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 11
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28504
Appears in Collections:Soc-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Soc-Con-Hatairat-B-smarts11.pdf486.2 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.