Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28501
Title: ผลของการใช้รูปแบบการสอน 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The Effects of 7E Instructional Model on Thai Literature Learning Achievement and Critical Reading Ability of Ninth Grade Students.
Authors: วรางคณา ชั่งโต
ศุภวรรณ สัจจพิบูล
Keywords: รูปแบบการสอน 7E
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
7E instructional mode
Thai literature learning achievement
Critical reading ability
Issue Date: 2559
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E และ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E กับการสอนแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีนนทบุรี ภาคเรียนที่ 1/2558 ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน 7E มีจานวน 29 คน กลุ่มควบคุมที่เรียนรู้ด้วยการสอนรูปแบบเดิม มีจานวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง กลุ่มละ 18 คาบ ดาเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยด้วยการทดสอบก่อนและหลังแบบมีกลุ่มควบคุม (pretest-posttest control group design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการสอนด้วยรูปแบบการสอน 7E จานวน 4 แผน 2. แผนการสอนแบบเดิม จานวน 4 แผน 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ และ 4. แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบเดิมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract: This study aimed to compare 1. Thai literature learning achievement and critical reading ability of ninth grade students before and after learning by using 7E instructional model, 2. Thai literature learning achievement and critical reading ability between groups of ninth grade students using 7E instructional model and those with traditional instruction. The population of this study were ninth grade students studying in Satrinonthaburi School in the first semester of the 2015 academic year. The subjects of this study were ninth grade students selected by using a purposive sampling technique. They were divided into two groups: an experimental group of 29 students using 7E instructional model, and a control group of 30 students using traditional instruction. The duration of the instruction was 18 periods. A pretest-posttest control group design was employed for this study. The research instruments were 4 lesson plans using 7E instructional model, 4 lesson plans using traditional instruction, 30 multiple-choice test items assessing Thai literature learning achievement, and 30 multiple-choice test items assessing critical reading ability. The data were analyzed by mean, standard deviation, and MANOVA. The research findings were as follows: 1. Thai literature learning achievement and critical reading ability of the students after learning by using 7E instructional model were higher than before learning at the .05 level of significance. 2. Thai literature learning achievement and critical reading ability of the students learning by using 7E instructional model were higher than those learning by using traditional instruction at the .05 level of significance.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 6 วันที่ 17 มิถุนายน 2559
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28501
Appears in Collections:EdSLM-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Edu-Con-Warangkana-C-smart6.pdf689.17 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.