Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28500
Title: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Personnel Work Motivation of Offices of the University, Chulalongkorn University
Authors: วชิระ กันภัย
จักรกฤษณ์ โปณะทอง
จารุวรรณ สกุลคู
Keywords: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
พนักงานมหาวิทยาลัย
Work Motivation
University Personnel
Chulalongkorn University
Issue Date: 2559
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรวมและรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านลักษณะงาน ด้านผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในหน้าที่การงาน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 254 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผลของการวิจัย พบว่า 1. พนักงานมหาวิทยาลัย มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านลักษณะงาน และด้านผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2. พนักงานมหาวิทยาลัยเพศชายและหญิง มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอายุต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่พบความแตกต่าง 4. พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่พบความแตกต่าง 5. พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่พบความแตกต่าง
Abstract: This research aimed to study and compare the personnel work motivation of offices of the University, Chulalongkorn University in overall and five aspects: environment, job type, supervisor and associates, benefits and career path. The samples were 254 personnel from the Offices of the University, Chulalongkorn University in the academic year 2015 they were classified by gender, age, educational background, and work experience. The research tool is a questionnaire. The results revealed that: 1. University personne ranked the work motivation in overall and each aspects at a moderate level, except aspects of job description and supervisor and associates at a high level 2. There were a significant differences between male and female university personnel in overall and five aspects. 3. There was no significant difference in work motivation among the university personnel with different age groups in overall and five aspects. 4. There was no significant difference among work motivation of the university personnel with different educational backgrounds in overall and five aspects. 5. There was no significant difference among work motivation of the university personnel with different work experience in overall and five aspects.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 6 วันที่ 17 มิถุนายน 2559
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28500
Appears in Collections:EdAdm-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Edu-Con-Wachira-K-smart6.pdf676.68 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.