Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28497
Title: การศึกษาความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมแบบสะตีม เรื่อง นาข้าว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: A Needs Assessment in Development a STEAM Selective Science Course on “Rice Field” for Ninth Grade Students
Authors: ปิ่นแก้ว ประดิษฐ์สกุล
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
Keywords: ความต้องการจำเป็น
วิทยาศาสตร์
สะตีม
Needs assessment
Science course development
STEAM Education
Issue Date: 2561
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมแบบสะตีม เรื่อง นาข้าว 2) พัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมตามกรอบแนวคิดที่ได้จากการประเมินความต้องการจำเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูล เป็นครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอหนองแค จำนวน 3 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมที่ใช้ในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังขาดการบูรณาการร่วมกับรายวิชาอื่น ๆ และครูผู้สอนเห็นว่าการนำเนื้อหาของทั้ง 5 รายวิชามาบูรณาการร่วมกันนั้นเป็นเรื่องดีและน่าสนใจน่าจะทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น และการจัดการเรียนรู้ตามรายวิชานี้ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาในแหล่งเรียนรู้จริง หรือเรียนรู้จากวิทยากรในท้องถิ่นที่เน้นการแก้ปัญหาและเผยแพร่ผลให้แก่บุคคลในท้องถิ่น 2. รายวิชาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 จากเมล็ดพันธุ์สู่เมล็ดข้าว หน่วยที่ 2 ข้าวไทยสายใยชีวิต และหน่วยที่ 3 ขวัญจากท้องนาสู่การเพิ่มค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบของรายวิชามีคุณภาพด้านความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และองค์ประกอบของรายวิชามีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ
Abstract: The purposes of this study were to: 1) study the needs assessment in development a STEAM selective science course on “Rice field” and 2) develop the course based on data from the needs assessment. The semi-structured interviews were used to interview 3 science teachers from the secondary schools in Nongkae district and the evaluation forms were used to get the experts’ opinions on the course. The data were analyzed in term of mean, standard deviation and content analysis. The findings of this study were as follows: 1. Most selective science courses at schools are science project courses that focus on practicing science process skills but lack of integration with any other subjects. And the teachers’ opinions about STEAM selective course revealed that the course is good and interesting that could support students’ learning. And there were many ways to conduct learning activities such as outdoor learning in the real context or learning from local people that focus on problem solving and disseminate that result to other people. 2. The developed science course consist of 3 learning unit: Unit 1 From paddy to milled rice, Unit 2 Rice and its entangled in life and Unit 3 Ordinary rice grains to value-added products. The results of the course evaluation by experts showed that the course is appropriate at the high level at overall and the course components are internally consistent.
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 8
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28497
Appears in Collections:EdSLM-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Edu-Con-Pinkaew-P-smart8.pdf657.88 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.