Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28487
Title: การศึกษาและพัฒนาผ้าไหมทอผสมเส้นใยสับปะรดเพื่อผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
Other Titles: The study and development of silk and pineapple fiber textiles for lifestyle Fashion products : a case study of silk weavers group, Baan ta ruea, nawa district, Nakhon Phanom province
Authors: อุษา ประชากุล
กรกลด คำสุข
รวิเทพ มุสิกะปาน
Keywords: ไหมทอผสม
เส้นใยสับปะรด
ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์
Silk
Mixture fabric
Pineapple fiber
Fashion lifestyle products
Issue Date: 2562
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาผ้าไหมทอผสมเส้นใยสับปะรด โดยมีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อหารูปแบบอัตราส่วนการทอที่เหมาะสม 2.) เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคน วัยทำงานตอนต้น ในการศึกษานี้ ใช้วิธีการสังเกตการณ์ สัมภาษณ์แบบกลุ่ม ในการเก็บข้อมูลและหาแนวทางในการพัฒนาการทอเส้นใยสับปะรดร่วมกับเส้นไหม โดยใช้กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม โดยได้ออกแบบวิธีการทอและทดลองทอเส้นใยสับปะรดร่วมกับเส้นไหมเพื่อให้ได้ลวดลายผืนผ้าที่มีลักษณะเส้นใยและพื้นผิวของผ้าที่แตกต่างกันตามสัดส่วนการทอจำนวน 20 รูปแบบ แล้วนำผืนผ้ามาทดสอบเพื่อวัดหาค่าความเป็นกรด-เบส (pH) ค่าความต้านทานการฉีกขาดและการยืดตัวของผืนผ้า จากนั้นทำการคัดเลือกรูปแบบผืนผ้าที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาผ้าไหมทอผสมเส้นใยสับปะรดสามารถทำได้โดยใช้เส้นไหมเป็นเส้นยืนหลัก และใช้เส้นใยสับปะรดเป็นเส้นพุ่งหลักได้โดยการทอผสมกับเส้นไหมในอัตราส่วนที่เหมาะสม จากการทดลองทอผืนผ้าตามสัดส่วนต่างๆ ทั้ง 20 รูปแบบ พบว่าค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-เบส (pH) อยู่ที่ pH = 7.41 อยู่ในช่วงที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสที่ผิวได้ จากการทดสอบค่าความต้านทานการฉีกขาดและการยืดตัวของผืนผ้า พบว่ามีเพียง 15 รูปแบบที่มีค่าความแข็งแรงของผืนผ้าที่เหมาะสมเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินเพื่อคัดเลือกรูปแบบผืนผ้าจากแบบสอบถามพบว่า รูปแบบผืนผ้าที่เหมาะสมมีสัดส่วนการทอของเส้นไหมต่อเส้นใยสัปปะรด เป็น 70: 30 และสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าทรงถุงผ้า (Tote bag) สอดคล้องกับเทรนด์สี A/W 20/21 ซึ่งสามารถนำมาออกแบบแบบร่างผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ จำนวน 1 คอลเลกชั่น
Abstract: This study provides a guideline for incorporating pineapple fiber with ordinary silk weaving. The two main objectives were 1.) to find a right proportion of pineapple fiber, and 2.) to develop new textiles and fashion those response to the lifestyle of early working-age people. Feasibility study was based on observing and interviewing with local silk weaving community at Ta-Ruea Village, Na-Wa District, Nakhon Phanom. To obtain the right proportion of pineapple usage, twenty different weaving patterns of mixed pineapple-silk fabric were investigated, yielding different fabric characteristics and touches. The physical properties of fabrics were tested, including pH value, tearing and shrinkage resistance. The results showed that the average pH value of 7.41 is safe from skin irritation when wearing. The tearing and shrinkage resistance test showed only 15 weaving patterns provided strength of over 10 percent. Pineapple fiber can be used as an additional material, while silk fiber is still required as a core material. The assessment from experts suggested an appropriate silk-pineapple usage ratio of 70:30. The developed fabric can be further employed for tote bag production, with corresponding A/W 20/21 code color.
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 9
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28487
Appears in Collections:Cci - Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Cci-Con-Usa-P-smart9.pdf1.16 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.