Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28418
Title: การศึกษารูปแบบการดูแลเด็กและผู้สูงอายุของบุคคลวัยทำงานในชุมชนเมือง
Other Titles: A Study of Child and the Elderly Care Patterns of Working Age People in Urban Community
Authors: หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์
Keywords: การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ
บุคคลวัยทำงาน
ชุมชนเมือง
Child and the Elderly Care
Working Age People
Urban Community
Issue Date: 2558
Abstract(TH): งานวิจัยมุ่งศึกษาลักษณะของครอบครัวในชุมชนเมืองและรูปแบบการดูแลเด็กและผู้สูงอายุที่อยู่ร่วมกันในครัวเรือนของบุคคลวัยทำงานในชุมชนเมือง วิธีการวิจัยเป็นทั้งเชิงปริมาณสำหรับวิเคราะห์ลักษณะทางประชากร ลักษณะครอบครัวในชุมชนเมือง รูปแบบการดูแลเด็กและการดูแลผู้สูงอายุ และเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายเหตุผลการเลือกรูปแบบดูแลเด็กและผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 75 คนอาศัยอยู่ในชุมชนนวลจิต กรุงเทพฯ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะครอบครัวในชุมชนเมืองเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีเด็กอยู่ร่วมกัน สำหรับการดูแลเด็กบุคคลวัยทางานจะเลือกใช้รูปแบบให้ลูกเรียนอยู่ที่โรงเรียนมากที่สุด เพราะเด็กอยู่ในวัยเรียนและบิดามารดาสามารถไปทำงานได้ และในกรณีเด็กก่อนวัยเรียนจะฝากปู่ย่าตายายดูแลแทน และสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ บุคคลวัยทำงานจะเลือกใช้รูปแบบให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังเพราะยังแข็งแรงสามารถดูแลตัวเองได้ ถ้าหากผู้สูงอายุมีสุขภาพไม่แข็งแรงจะฝากเพื่อนบ้านคอยดูแลให้ นอกจากนี้ บุคคลวัยทำงานที่ไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ทำงานที่บ้าน ที่มีลักษณะงานอิสระและมีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น และทำงานประจำแต่ส่งลูกไปอยู่กับปู่ย่าตายาย ไม่ต้องการความช่วยเหลือในการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ เพราะสามารถบริหารจัดการเวลาเองได้ แต่บุคคลวัยทำงานที่อยู่กับผู้สูงอายุต้องการความช่วยเหลือด้านการแพทย์ที่เข้าถึงชุมชนโดยไม่ต้องพาโรงพยาบาล สำหรับบุคคลวัยทำงานที่อยู่กับเด็กต้องการให้ที่ทำงานมีศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่อจะได้ทำงานและสามารถดูแลลูกได้ด้วย
Abstract: The objectives of this research consist of studying a characteristic of family in urban community and patterns of child and elderly care of working-age people in urban community. This research employs both a quantitative method for analyzing demographic background , characteristics family in urban community, and patterns of child and elderly care of the working-age people in urban community of a sample group and a qualitative one for explaining reason why the sample group use these patterns. The sample group is 75 people living in Nualjit Community, Bangkok. The result of the characteristic of family in urban community is the nuclear family with child or children. For the pattern of childcare of the working-age people, the findings indicate that as their children enter into school age, the sample group is mostly likely send them to school. If they are pre-school age children, their grandparents would take care of them. For the pattern of the elderly care, the results are that the elderly are left at home alone because they are still healthy and can take care of themselves. If the elderly do not have good health, neighbors are asked to care for them. Moreover, the sample being unemployed, working at home, and having flexible working hours do not want any assistance because they can manage their time. For the working-age people living with the elderly, mobile health unit is necessarily needed. Providing a day care center in the workplace is crucial for the working-people because they can work and spend time with their children at the same time.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTs ครั้งที่ 5
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28418
Appears in Collections:Soc-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Soc-Con-Hathairat-B-smart5.pdf533.21 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.