Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28404
Title: นโยบายชาตินิยมของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามกับการต่อต้านการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส พ.ศ. 2481 – 2487
Other Titles: Pibulsongkram’s Nationalist Policy and the Opposition to the Dissemination of Christianity of French Missionaries, 1938 - 1944.
Authors: สิทธิโชค อนุจันทร์
Keywords: ป. พิบ่ลสงคราม
นโยบายชาตินิยม
คณะบาทหลวงฝรั่งเศส
Pibulsongkram
Nationalist Policy
Christianity
Issue Date: 2558
Abstract(TH): มูลเหตุที่นำไปสู่การดำเนินนโยบายต่อต้านการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงครามเกิดจากกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน เมื่อพ.ศ.2483 ซึ่งมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนคนไทยส่วนหนึ่งที่มีสำนึกของความเป็นชาตินิยมและเห็นว่าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาของชนชาติศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ดำเนินนโยบายปลุกกระแสชาตินิยมด้วยการสร้างศัตรูร่วมทางการเมือง คือ ชาวตะวันตกโดยเฉพาะกับฝรั่งเศส จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าวระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อมาประกอบกับความคิดในเรื่องชาตินิยมไทยที่ถือว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ คนไทยต้องนับถือพระพุทธศาสนาเท่านั้น รัฐบาลจึงออกนโยบายต่างๆ ที่มีลักษณะกีดกันคนไทยที่นับถือศาสนาอื่นและคนไทยที่นับถือคริสต์ศาสนา เพื่อให้ละทิ้งความเชื่อเดิมแล้วเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาแทน นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีความหวาดระแวงว่าบาทหลวงและผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาจะทำตัวเป็นสายลับหรือพวกแนวที่ 5 ให้กับประเทศฝรั่งเศส จากความรู้สึกหวาดระแวงบาทหลวงฝรั่งเศสและคนไทยที่นับถือคริสต์ศาสนา ทำให้คนไทยบางกลุ่มได้รวมตัวกันต่อต้านคริสต์ศาสนาและนำไปสู่การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ เช่น มีการออกใบปลิวปลุกเร้าและประกาศชักชวนให้โจมตีหลักคำสอนของคริสต์ศาสนา นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ดำเนินการเข้ายึดทรัพย์สินของมิสซังสยาม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยชนศัตรูและทรัพย์สินของชนชาติศัตรู พุทธศักราช 2485 เพราะเห็นว่า มิสซังสยามเป็นของประเทศฝรั่งเศส บาทหลวงที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยและประมุขแห่งมิสซังสยามล้วนแต่เป็นชาวฝรั่งเศสทั้งสิ้น จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสและคริสตชนที่เป็นคนไทย ดังเช่น พ.ศ.2483 คริสตชนในเขตหมู่บ้านสองคอน จังหวัดนครพนม ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสังหาร 7 ราย เนื่องจากไม่ยอมเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาตามนโยบายของรัฐบาล และพ.ศ.2484 บาทหลวงนิโคลาส บุญเกิด กฤษบารุง ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมและศาลตัดสินในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักร ผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาจึงถูกมองว่าเป็นผู้นิยมฝรั่งเศส และคริสต์ศาสนานั้นคนไทยโดยทั่วไปก็เข้าใจว่าเป็นศาสนาของฝรั่งเศสเพราะถูกนำมาเผยแผ่โดยคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ดังนั้นการดำเนินนโยบายชาตินิยมและการเน้นพระพุทธศาสนาของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้นำไปสู่การดำเนินการและการเคลื่อนไหวต่อต้านการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสในเมืองไทยอย่างจริงจัง รวมถึงความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มผู้นับถือคริสต์ศาสนาในประเทศไทยอีกด้วย
Abstract: The opposition of Pibulsongkram government to the dissemination of Christianity conducted by French missionaries was mainly caused by the disputes between France and Thailand during the Indochinese War in 1940. This had a strong effect on Thai nationalists and they considered that Christianity was the enemy’s religion. The situation was aggravated when the government tried to arouse nationalism among people by making them feel that western people, especially the French were their common enemy. Together with implanting nationalist notions that Buddhism was the state religion and Thai people should be Buddhists only, the government then held policies which discriminated Thai Buddhists and Thais with other faiths or Christian Thais so that they would convert from their old faith to Buddhism. Moreover, the government was concerned that priests and Christian Thais were spies working for France. Being wary with French priests and Christian Thais, certain Thais gathered to oppose Christianity and voiced their discontent through various ways. For example, they issued leaflets with urging notes or persuaded people to attack Christian teachings. In addition, the government confiscated the Siam Missionary’s properties by means of the 1942 act concerning hostile countries and their properties. This owed to the belief that the Missionary belonged to France since the missionaries who came to practice their faith in Thailand and the head of the Siam Missionary were all French. The situation above affected the dissemination of Christianity and Thai Christians. For instance, in 1940, seven Christian Thais who lived in Song Korn Village, Nakhon Phanom Province, were killed by the police as they refused to convert to Buddhism as demanded by the government. Also, in 1941 the Thai priest named Nicholas Bunkoed Kritbamrung was arrested by the police and the court ruled out that he was a rebel. Christian Thais were considered pro-French as people in general believed that Christianity was the religion of France as French missionaries disseminated this religion. Thus, nationalist policies and the emphasis on Buddhism drove Pibulsongkram government to move seriously against the dissemination of Christianity in Thailand and also caused conflicts among Christian Thais also occurred.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTs ครั้งที่ 5
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28404
Appears in Collections:His-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
His-Con-Sitichok-A-smart5.pdf551.31 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.