Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27781
Title: การวิจัยภาวะการใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ในการเกษตร
Other Titles: A case study of farm machinery and equipment of rice farmers
Advisor : ประชา บุณยวานิชกล
Authors: สนธยา ทองนวล
สุธิรวัฒน์ แกัวชนะ
ปานะพันธุ์ ปัญญาโฉม
สุรพงษ์ เพ็งมณี
อดิเรก สุภาฉาย
Keywords: เทคโนโลยีการเกษตร
เครื่องจักรกลการเกษตร
Issue Date: 2543
Publisher: ภาควิชาวิควกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมคาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาการใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตรในการทำนาของเกษตรกรผู้ทำนาในอำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายกโดยศึกษาถึงเหตุผลที่เกษตรกรตัดสินใจใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตรลักษณะการใช้ผลที่ได้รับจากการใช้และปัญหาในการใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตรนั้นๆในการทำนาโดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ เกษตรกรผู้ทำนาที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน89 รายเป็นผู้มี และไม่มีเครื่องจักรกลฯ เป็นของตัวเองประเภทละ 54 ราย และ 35 รายตามลำดับวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้ค่าร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิตค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบมาตรฐานโดยใช้11คสแควร์ผลจากการวิจัยพบว่าเกษตรกรผู้ทำนาได้ใช้เครื่องจักรกล ฯ และอุปกรณ์การเกษตรในการทำนาโดยใช้ในการเตรียมดิน เพื่อทำแปลงเพาะกล้าและแปลงปกคำ หรือหว่านเป็นหลัก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญที่ต้องการให้ตนสามารถเพาะปลูกข้าวได้ทันตามฤดูกาลการใช้เครื่องจักรกล ฯ ในการทำนาไม่ได้ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลผลิตข้าวต่อไร่สูงขนกว่าที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรกล ฯ แต่อย่างใดเพราะเกษตรกรไม่ได้เปลี่ยนแปลงกรรมวิธีและการใช้เทคโน เลขในกระบวนการผลิตนั้นเอง การใช้เครื่องจักรกล ฯ เพียงแต่ช่วยให้เกษตรกรได้รับความสะดวกรวดเร็วกว่าแรงสัตว์และสามารถเพาะปลูกข้าวได้ทันตามฤดูกาลเท่านั้นปัญหาของการใช้เครื่องจักรกล ฯ ในการทำนาได้แก่เกษตรกรผู้รับจ้างไม่มาทำตามกำหนดนัดหมายที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้จ้างไม่มีเงินค่าจ้างและผู้รับจ้างมักเตรียมดินไม่เรียบร้อย ทำให้ผู้จ้างต้องเสียเวลาควบคุมลูแลการทำงานของผู้รับจ้างและต้องตกแต่งทีดินเพิ่มเติมอยู่บ่อย ๆสำหรับเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของเครื่องจักรกล ฯ มักประสบปัญหาการขาดความรู้ในการใช้และบำรุงรักษาซึ่งเป็นเหตุทำให้เครี่องจักรกล ฯ เสียหายได้เร็วกว่ากำหนดที่ควรจะเป็นผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานขึ้นพิสูจน์ซึ่งบ่รากฎผลว่า เกษตรกรผู้ทำนาไม่มีความแตกต่างกันในการเป็นเจ้าของเคร้องจักรกล ฯ และอุปกรณ์การเกษตร แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านอายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนแรงงานในครัวเรือนและรายได้ต่อปี แต่เกษตรกรผู้ทำนาที่มีพื้นที่ถือครองเพื่อการทำนาแตกต่างกันจะเป็นเจ้าของเครื่องจักรกล ฯ และอุปกรณ์การเกษตรแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีพื้นที่ถือครองเพื่อการทำนาจำนวน 10 ไร่ขึ้นไป จะมีแนว โน้มเป็นเจ้าของเครื่องจักรกล ฯ และอุปกรณ์การเกษตรมากกว่าผู้ไม่เป็นผู้วิจัยได้เสนอแนะให้มีการศึกษาลู่ทางใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าว โดยผู้ใช้เครื่องจักรกล ฯ และอุปกรณ์การเกษตรช่วยในการทำนาให้มากขึ้น รวมทั้งแนะนำการใช้เครื่องจักรกล ฯและอุปกรณ์การเกษตรอย่างถูกต้องให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรไค้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรกล ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นควรเพิ่มบทบาทในการให้การฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นแก่เกษตรกรให้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้เสนอให้รัฐบาลเร่งปรับปรุงระบบชลประทาน พร้อมกับชัดรูปที่ดินให้เหมาะสมรวมทั้งให้สินเชื่อการเกษตรแก่เกษตรกรให้มากขึ้นด้วย
Abstract: This research was aimed to study fanner’s use of fanner machinery and equipmentat Ampur Ongkarak Changwad Nakhonnayok. To obtain possible reason behind the farmer’s decision making in farm machinery and equipment using . the researcher interviewed 89 fanners 54 farm machinery and equipment owners and 35 non- owners. It was found that fanners used farm machinery' and equipment mainly for land preparation for seed bed , transplanting and broadcasting field area in order to be able to cultivate in lime.It was observed that the use of mechanical tillage did not help fanners to gain more product than the traditional use of animal power. This was due to the fact that fanners did not improve necessary methods and technologies in the production process. Therefore , using modem equipment merely helped to facilitate farmers' work and to save lime so that cultivation could be finished in time.Various problems were found of equipment using; The equipment owners failed to work on lime , lack of money of the hirers , and unsatisfying work causing the hirers to complete which otherwise unnecessary.The study also indicated that lacking of knowledge in utilization and maintenance of most owners caused shorter life of farm machinery and equipment.Regarding the hypotheses started , it was found that there was no difference in ownership of farm machinery and equipment. even though , differences were found among ages, education levels . household members . family labor ,and family income. But difference was found among the areas of paddy land. Further study is recommended in Older to help fanners improve their farm practices and to use their farm equipment efficiently . in order to gain a maximum benefit form such equipment. More ever. the government should take prompt action to improve irrigation system , to promote land consolidation . and to provide more agricultural credits , as these arc well realized as fundamental factors in fanning
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27781
Appears in Collections:MecEng-Technical Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Sontaya _H.pdf
  Restricted Access
18.13 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.