Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25101
Title: การศึกษาผลการเปรียบเทียบตำแหน่งและจำนวนอิเล็กโทรดของระบบควบคุมอุปกรณ์ด้วยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อจากข้อมือ
Other Titles: A comparative study on number and site of electrode for wrist myoelectric control system
Advisor : วีรยส อร่ามเพียรเลิศ
Authors: ฐนิยา มาแสง
ธัญญาลักษณ์ ศรีระหอม
ศุภสุตา อธิคมวิทยา
Keywords: ระบบควบคุมอุปกรณ์ด้วยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณข้อมือ
การวิเคราะห์การจำแนกประเภทเชิงเส้น
การจำแนกประเภทแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
Issue Date: 2564
Publisher: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โดยทั่วไประบบควบคุมอุปกรณ์ด้วยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อนิยมใช้สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณใต้ข้อศอกแต่จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อจากบริเวณข้อมือสามารถใช้ในระบบควบคุมอุปกรณ์ด้วยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อได้เช่นกัน ดังนั้นโครงงานวิศวกรรมนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการนำสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อจากบริเวณข้อมือมาใช้ในการสร้างระบบควบคุมอุปกรณ์ด้วยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณข้อมือสำหรับการใช้จำนวนอิเล็กโทรดและตำแหน่งในการติดอิเล็กโทรดที่แตกต่างกันโดยบันทึกสัญญาณจากกลุ่มตัวอย่างขณะทำท่าทางแบบสุ่มทั้งหมด 10 ท่าทาง (ไม่รวมท่าพัก) ใน 3 ตำแหน่งการวางมือ และสร้างโมเดลในการจัดประเภทสัญญาณทั้งหมด 3 โมเดล ได้แก่ โมเดล 4 แชนแนล โมเดล 2 แชนแนล แบบ A และโมเดล 2 แชนแนล แบบ B โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การจำแนกประเภทเชิงเสัน (LDA) ในการจัดประเภทกลุ่มสัญญาณให้ผลความถูกต้องอยู่ที่ 76.76 เปอร์เซ็นต์ 67.93 เปอร์เซ็นต์ และ 69.19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เพิ่มประสิทธิภาพโมเดลด้วยการทำร่วมกับการจำแนกประเภทแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (OVO)ให้ผลความถูกต้องอยู่ที่ 81.10 เปอร์เซ็นต์ 69.76 เปอร์เซ็นต์ และ 70.96 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ผลการทดสอบทางสถิติในการเปรียบเทียบภายในโมเดลที่ใช้ LDAหรือ LDA(OVO) พบว่าโมเดล 4 แชนแนลมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโมเดล 2 แชนแนลทั้ง 2 แบบ และการเปรียบเทียบระหว่างโมเดลที่ใช้ LDA และ LDA(OVO) พบว่า ทั้ง 3 โมเดลมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract: In general, myoelectric control system is controlled by forearm EMG signals, but from literature review it has been mentioned that wrist EMG signals can be used for myoelectric control system as well. Therefore, this engineering project focuses on the used of wrist EMG signals for myoelectric control system. The objective of this study was to compare the results of using wrist EMG signals by varying number and site of electrodes. The signal was collected from 7 subjects while they randomly performed 10 hand gestures (not including resting) in 3 hand positions and compare the classification accuracy of each model, such as 4 channels model, 2 channels model A and 2 channels model B. Linear Discriminant Analysis (LDA) was used as a classifier and gave the classification accuracy at 7 6.7 6 %, 6 7.93% and 69.19% respectively. To increase the efficiency of classification, The One vs One Multiclass Classification (OVO) was applied to the LDA and gave the classification accuracy of 81.10%, 6 9.76% and 70.96% respectively. The results of statistical tests showed that the 4-channel model had a statistically significant difference with the two 2-channel models the statistical test in comparison between using either LDA or LDA(OVO) showed that when using LDA as the classifier 4 channels models was statistically significant different from 2 channels model and while compare between LDA and LDA(OVO) found that 3 models were statistically different.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25101
Appears in Collections:BioEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Thaniya_M.pdf
  Restricted Access
39.79 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.