Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/21590
Title: การสำรวจความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์ ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Other Titles: Satisfaction Survey with the Online Leave System of Faculty of Physical Therapy, Srinakharinwirot University
Authors: ประทุมวรรณ มูลศรี
โสภณ เครือแก้ว
Keywords: ระบบการลางานออนไลน์
ความพึงพอใจ
การบริการ
ระบบสารสนเทศ
leave system online
satisfaction
services
information system
Issue Date: 2563
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์ ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 54 คน ที่เข้าใช้ระบบการลางานออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นระยะเวลา 11 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบ สำรวจออนไลน์ (Google form) ความพึงพอใจต่อระบบ โดยกำหนดมาตราส่วนประมาณค่าเป็น 5 ระดับ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานมีการเข้าใช้ระบบการลางานออนไลน์ด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบปฏิบัติการ windows เปิดด้วยโปรแกรม Google chrome มากที่สุด สำหรับความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์ เป็นรายด้าน พบว่า ด้านประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 (S.D. =0.77) ด้าน ความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 (S.D. =0.64) ด้านการออกแบบ โดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 (S.D. =0.69) และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 (S.D. =0.54) จากผลการวิจัยจึงสรุปได้ว่า บุคลากรผู้ใช้งานมี ความพึงพอใจต่อระบบการลางานออนไลน์อยู่ในระดับมาก ผู้วิจัยจึงนำข้อมูลจากผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบการลางานออนไลน์ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒให้มีประสิทธิภาพต่อไป
The purpose of this study was to find out satisfactions on online leave system of the Faculty of Physical Therapy, Srinakharinwirot University. The participants of the study were 54 personnel of the Faculty of Physical Therapy who accessed the online leave system from April 8, 2018 to February 8, 2019, for a period of 11 months. The data collection tool was a 5 level rating scale survey. The data were collected through Google form and analyzed by percentage, average, standard deviation, and descriptive method. The results illustrated that most participants accessed to the online leave system using computers with Google Chrome browser program. The measurement of efficiency provided an evaluation of the highest-level program performance with an average of 4.54 (S.D. = 0.64). The design program and performancewas an average of 4.32 (S.D. = 0.69) while thesupport and service provisionand performance was an average of4.42 (S.D.= 0.54). From oursurvey, the sample group highly satisfied with the online leave system and this data will help to improve the online leave system become more efficient in the future.
URI: http://www.council-uast.com/journal/upload/fullpaper/10-07-2020-337941706.pdf
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/21590
Appears in Collections:Pt-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.