DSpace Repository

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ แนวทางการพัฒนาสินค้าจากสีย้อมจากธรรมชาติบนฐานรากทรัพยากรชุมชน เพื่อสร้างรายได้จากธรรมชาติในเขตพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author กัลยาณี กุลชัย th_TH
dc.date.accessioned 2024-11-03T05:55:01Z
dc.date.available 2024-11-03T05:55:01Z
dc.date.issued 2567
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/30863
dc.description งบประมาณวิจัย เงินรายได้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2566 th_TH
dc.description.abstract This research aims to (1) study the plant resources within the Phawa subdistrict that provide natural dyes, with the intention of developing products for the Phawa Community agroforestry enterprise group in Chanthaburi Province, and (2) establish a community resource-based dye database to support the development of local products or communitydriven tourism activities within Phawa Subdistrict, Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province. This research employs a mixed-methods approach, combining participatory experimental research and qualitative research. Both primary and secondary data were collected through group discussions, experimental trials on using local plant resources for natural dyeing, and the development of products rooted in the local area. The study findings include a database of 25 dye-producing plant species identified in the community forest and local areas. Training sessions were held to test colors and shades produced with various mordants, leading to the selection of three plant species for natural dye experiments: Phawa, mangosteen, and madan. Results showed that Phawa and madan leaves produce a yellow dye, while mangosteen provides a pinkish-purple shade. Color intensity varies with different mordants, with alum and salt yielding the most vibrant colors across all plants. Community members were trained in shibori tie-dye techniques and leaf printing on products using eco-print techniques. Satisfaction surveys indicated positive feedback, with two community members incorporating the dyeing techniques into product creation, while others planned to use natural dyes for clothing refurbishment to reduce expenses on new items. Additionally, natural dyeing based on community resources was used to create packaging for turmeric soap, enhancing the product's appeal. However, the Community Agroforestry Enterprise Group still lacks sufficient funding for product development. It is recommended that the group proposes new product development initiatives to relevant government agencies to support income generation for the Phawa community agroforestry enterprise group in the future. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ th_TH
dc.subject กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวนเกษตร
dc.title รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ แนวทางการพัฒนาสินค้าจากสีย้อมจากธรรมชาติบนฐานรากทรัพยากรชุมชน เพื่อสร้างรายได้จากธรรมชาติในเขตพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี th_TH
dc.type Technical Report th_TH
dc.subject.keyword พันธุ์ไม้ th_TH
dc.subject.keyword สีย้อม th_TH
dc.subject.keyword สินค้า th_TH
dc.description.abstractthai งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทรัพยากรพันธุ์ไม้ในเขตพื้นที่ตำบลพวาที่เป็นพันธุ์ไม้ย้อมสีเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวนเกษตร ต.พวา จังหวัดจันทบุรีและ 2) จัดทำเป็นข้อมูลสียย้อมจากฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อการพัฒนาสินค้าในชุมชนหรือกิจกรรมสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่ ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีมีวิธีการศึกษางานวิจัยแบบผสม (Mixed method) ระหว่างการวิจัยเชิงทดลองปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ การประชุมกลุ่ม การทดลองปฏิบัติการในการนำทรัพยากรพันธุ์ไม้ในพื้นที่มา ทดลองการย้อมสีธรรมชาติ เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าในพื้นที่ ซึ่งได้ผลการศึกษา คือฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ให้สีในเขตพื้นที่ป่าชุมชน และพื้นที่ชุมชน พบพันธุ์ไม้ให้สีจำนวน 25 ชนิด ซึ่งมีการอบรมการทดสอบสีและการได้เฉดสีจากสารช่วยให้ติดสีต่างๆ และจากการประชุมกลุ่ม ได้คัดเลือกพันธุ์ไม้ จำนวน 3 ชนิดมาใช้ในการทดลอง ในการย้อมสีธรรมชาติคือ พะวา มังคุด และมะพูด พบว่าสีที่ได้จากใบพะวา และใบมะพูด ให้สีเหลือง สีจากมังคุดได้สีม่วงชมพูจะมีการเข้มข้นของเฉดสีแตกต่างกันไปตามสารมอแดนซ์ สารมอแดนซ์ที่ให้สีที่สวยที่สุดทุก พืชคือการใช้สารส้มผสมเกลือ จะทำให้สีสดใส มีการสอนให้ชุมชนทดลองมัดย้อมเพื่อสร้างลวดลายแบบชิโบริ รวมถึงการสร้างลายพิมพ์ใบไม้บนผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค ecoprint และเมื่อสอบถามความพึงพอใจพบว่ากลุ่มสมาชิกมีความพึงพอใจและมีผู้ที่นำไปใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ราย ส่วนสมาชิกอื่นๆ จะนำไปใช้ใน การย้อมเสื้อผ้าเก่า เพื่อลดค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อของใหม่ มีการใช้การย้อมสีธรรมชาติจากฐานทรัพยากร ชุมชนมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในลักษณะถุงบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่สบู่ว่านนางคำ ซึ่งเป็นการยกระดับกับผลิตภัณฑ์ ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังขาดเงินทุนสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งควรได้ นำแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ไปเสนอหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวนเกษตรตำบลพวา ต่อไป th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics