dc.contributor.author | เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-08T10:38:06Z | |
dc.date.available | 2024-01-08T10:38:06Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/255106 | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29750 | |
dc.description.abstract | The purposes of this research were to study viewpoints and satisfactions of the population towards the country's economic stimulus policy, "Chim Shop Chai" Measure, involving parts of the measure's accessibilities, gaining benefits, and incurring problems. This study used the Quantitative Research Method. The instrument used to collect data was a questionnaire. The data was collected from accidental samples aged over 18 years and either lived or worked in Bangkok Metropolitan or surrounding area. The statistical techniques used are percentage, means, standard deviation (SD), t-test, and one way analysis of valiance (ANOVA). The majority samples consisted of females aged between 18-35 years. More than half of them had undergraduate education, occupation in private company or self-employed business, and had average income between 10,000-30,000 Baht per month. Almost half of them live in Bangkok or surrounding area. In part of political viewpoints found that almost half of the samples admired and went most for the opposition party. In part of accessibility for a right of "Chim Shop Chai" Measure founded that more than 62.1% received the right and participated this project. Analytical outcomes of the differential in each factor founded that the differences of sex, age, occupation, income, domicile, and admiration in political party affected their opinion towards different problems of the "Chim Shop Chai" Measure. In part of satisfaction founded that the differences of sex, age, occupation, income, domicile, and admiration in political party affected their satisfaction towards different satisfactory levels of the registration system to receive the right. Findings on the satisfaction towards using benefits from this project founded that the differences of age, occupation, domicile, and political party had different satisfaction significantly at the statistical level of 0.05. The findings of this research found that accessibility and entitlement to the right had still been the obstacles for the groups of older persons and persons who disabled access to electronic devices or smart phones in order to register their right with. This caused the deserved targets of the right disabled in receiving their right in reality and made this economic stimulus policy be misused with the aimed group of targets. Based on the major findings, I would recommend the government sector to support researching studies in impactful factors of economic stimulation with each population age range for the highest effectiveness of the government policy. | |
dc.subject | มาตรการ | |
dc.subject | ความพึงพอใจ | |
dc.subject | มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ | |
dc.subject | Chim Shop Chai | |
dc.subject | Measure | |
dc.subject | Viewpoints | |
dc.subject | Satisfaction | |
dc.title | การศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ชิมช้อปใช้” | |
dc.title.alternative | A Study of Viewpoints and Satisfaction towards Economic Stimulus Measure “Chim Shop Chai” | |
dc.type | Article | |
dc.identifier.bibliograpycitation | วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (2021): กันยายน - ธันวาคม 2564 | |
dc.description.abstractthai | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ มาตรการ "ชิมช้อปใช้" ทั้งในส่วนของการเข้าถึง ประโยชน์ที่ได้รับ และปัญหาของมาตรการนี้ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยหรือทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเก็บโดยการสุ่มโดยบังเอิญ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-35 ปี มากกว่าครึ่งมีระดับการศึกษาปริญญาตรี และประกอบอาชีพในบริษัทเอกชน/ ทำธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 10,000-30,000 บาท/เดือน โดยเกือบครึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร/ ปริมณฑล ในส่วนของความคิดเห็นทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งชื่นชอบและเลือกพรรคฝ่ายค้านมากที่สุด ในส่วนของการได้รับสิทธิมาตรการ “ชิมช้อปใช้” พบว่ามากกว่าร้อยละ 62.1 ได้รับสิทธิ์และเข้าร่วมโครงการ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างในแต่ละปัจจัยพบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ภูมิลำเนา และความชื่นชอบพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน มีผลต่อข้อคิดเห็นด้านปัญหาของมาตรการ “ชิมช้อปใช้” ที่แตกต่างกัน โดยในส่วนของความพึงพอใจพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ภูมิลำเนา และความชื่นชอบพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจในระบบการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ที่แตกต่างกัน ในด้านของความพึงพอต่อการใช้สิทธิประโยชน์จากโครงการพบว่า อายุ อาชีพ ภูมิลำเนา และพรรคการเมืองแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่าการเข้าถึงสิทธิ์ และการได้รับสิทธิ์ยังมีอุปสรรคต่อกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ที่เป็นสมาร์ทโฟนเพื่อลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ จึงเป็นสาเหตุให้กลุ่มผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์ไม่ได้รับสิทธิ์ตามจริง ทำให้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ ไม่ได้ถูกใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐสนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละกลุ่มอายุเพื่อให้นโยบายของภาครัฐมีประสิทธิภาพสูงที่สุด |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |