DSpace Repository

การจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากการขอทาน

Show simple item record

dc.contributor.author ไพรัช บวรสมพงษ์
dc.date.accessioned 2024-01-08T10:38:06Z
dc.date.available 2024-01-08T10:38:06Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/246771
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29743
dc.description.abstract The research "The Problems of Human Trafficking in Begging Exploitation" aimed to study causes and situations of begging problems in Thai society, perspectives on beggar and begging, including the analysis of the precious measurement of begging problems, in order to provide recommendations to tackle the problems of human trafficking in forced begging. Qualitative research was designed to this research and the data was gathered by mixed methods, such as documentary research, key informant interviews, group discussions and field study, to understand the problem. Also, content analysis and descriptive research were used to analyze the gathered data and presented the research results. The research results showed that the problem of human trafficking in forced begging was extremely complicated which linked to the social value of "giving." The occurred begging phenomenon was motivated by poverty and easy income that formed many groups of beggars both of Thai beggars and beggars from neighbour countries. Moreover, the social point of view in the problem was still "the begging is normal" and "giving is merit making," the begging problem therefore was repeatedly produced and its impact was wider. Although, the begging was related to human trafficking gangs and transnational organized crime groups, the measurements and solutions were not consistent with the root cause of the problem, for example, to order and control beggars in shelters or to recover them by old-fashion occupational training. The limitation of victim identification was also a cause of ineffective victim protection and offender prosecution. Therefore, the recommendations to combat the human trafficking problem were to start with the process of fact finding in order to screen victims of human trafficking, to lead them and their family to the process of witness protection, and to recover and prepare them for participating in the process of offender prosecution. For conducting all processes, multidisciplinary was needed. In case of people in society, the correct giving concept was needed, so there should be programs to promote understanding and awareness that giving should
dc.subject การค้ามนุษย์
dc.subject การต่อต้านการค้ามนุษย์
dc.subject การแสวงหาประโยชน์
dc.subject การขอทาน
dc.subject การบังคับขอทาน
dc.subject Human Trafficking
dc.subject Human Trafficking Combat
dc.subject Begging Exploitation
dc.subject Forced Begging
dc.title การจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากการขอทาน
dc.type Article
dc.identifier.bibliograpycitation วารสารกระบวนการยุติธรรม. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (2016)
dc.description.abstractthai การวิจัยเรื่อง “ปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากการขอทาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงที่มาและสถานการณ์ของปัญหาขอทานในสังคมไทย มุมมองเกี่ยวกับขอทานและการขอทาน รวมถึงการวิเคราะห์มาตรการจัดการปัญหาขอทาน เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะต่อการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบบังคับขอทาน การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบหลายวิธีการไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก การอภิปรายกลุ่ม การลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากการขอทาน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากการขอทานเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกับค่านิยมของสังคมว่าด้วย “การให้” ทำให้ปรากฏการณ์ขอทานที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะทั้งที่มาจากปัญหาความยากจนอันเป็นแรงผลักดันให้ต้องมาขอทาน หรือแรงดึงดูดจากการได้เงินมาโดยง่ายทำให้เกิดกลุ่มอาชีพขอทาน หรือกลุ่มขบวนการเร่ขอทาน หรือกรณีการเข้ามาเป็นขอทานของชาวต่างชาติที่หลั่งไหลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่มุมมองของสังคมเกี่ยวกับปัญหาขอทานยังคงมองว่า “การขอทานเป็นเรื่องปกติ การให้เป็นเรื่องของความดีงาม” ทำให้ปัญหาขอทานยังคงถูกผลิตซ้ำซึ่งปัญหาและสร้างผลกระทบในวงกว้างเนื่องจากปัญหาขอทานมีความเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์และกระทำความผิดทางอาญาในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หากแต่วิธีในการแก้ไขปัญหากลับมุ่งไปที่การจัดระเบียบอันเป็นมาตรการที่มุ่งควบคุมและนำบุคคลที่มาขอทานเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ฝึกอาชีพในสถานสงเคราะห์ ประกอบกับข้อจำกัดในการคัดกรองและจำแนกการเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองดูแล จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามหรือดำเนินคดีกับขบวนการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ แนวทางการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากการขอทานจำเป็นต้องเริ่มจากกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อจำแนก คัดกรองผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการคุ้มครอง การฟื้นฟู และการเตรียมความพร้อมผู้เสียหายในการให้ความร่วมมือในการปราบปราม ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการคุ้มครองพยาน รวมถึงบุคคลในครอบครัว ซึ่งต้องทำงานภายใต้หลักสหวิชาชีพ รวมถึงการสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ของสังคมเกี่ยวกับการให้ทานที่ถูกต้องที่ไม่จำเป็นต้องกระทำผ่านการให้เงินขอทานเนื่องจากประเทศไทยมีระบบรัฐสวัสดิการที่ดูแลในทุกกลุ่มเป้าหมาย


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics