dc.contributor.author |
พระครูสิริปัญญานุโยค |
|
dc.contributor.author |
พระสุธีรัตนบัณฑิต |
|
dc.contributor.author |
วิวัฒน์ หามนตรี |
|
dc.contributor.author |
ชลวิทย์ เจียรจิตต์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-01-08T07:15:17Z |
|
dc.date.available |
2024-01-08T07:15:17Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/192348 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29732 |
|
dc.subject |
การส่งเสริมสุขภาวะทางสังคม |
|
dc.subject |
พระสังฆาธิการ |
|
dc.subject |
Social well-being promotion |
|
dc.subject |
Buddhist ecclesiastical official monks |
|
dc.title |
รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย |
|
dc.title.alternative |
A MODEL OF SANGHA ADMINISTRATOR’S SOCIAL WELL-BEING PROMOTION IN THAI SOCIETY |
|
dc.type |
Article |
|
dc.identifier.bibliograpycitation |
วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (2019): มิถุนายน 2562 |
|
dc.description.abstractthai |
งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า
การส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย ตามหลักสุขภาวะ 4 พบว่า 1) ด้านกาย มีการส่งเสริมให้ออกกำลังกายทุกวันพุธ จัดกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยตาราง 9 ช่อง กายบริหารในลานวัด ลานกีฬา และกิจกรรมตรวจสุขภาพ 2) ด้านจิต มีการส่งเสริมให้นั่งสมาธิ เจริญภาวนาทุกวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมนั่งสวดมนต์ทุกวันตอนเย็น ตลอดถึงการสวดมนต์ข้ามปี และส่งเสริมจิตอาสา เพื่อเป็นพลวัตแรงขับเคลื่อนในการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะที่มีความยั่งยืน 3) ด้านปัญญา มีการแบ่งปันสิ่งของและให้ความรู้เพื่อเป็นต้นแบบสังคมแห่งการโอบอ้อมอารีย์ มีน้ำใจ มิตรไมตรี และ 4) ด้านสังคม มีการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา ภายใต้การขับเคลื่อนงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 และการสร้างเสริมชุมชนสัมพันธ์
รูปแบบและกระบวนการการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย พบว่า 1) กระบวนการให้ความรู้ มีการจัดโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นการพัฒนาจิตใจ 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาสุขภาวะให้เป็นเอกภาพ 3) กระบวนการบริหารจัดการ มีการวางแผนการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาวะให้กับประชาชน และ 4) กระบวนการเชิงจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพในกระบวนทัศน์ใหม่ เช่น สุขภาพองค์รวม ที่เน้นการบูรณาการอย่างมีดุลยภาพของส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับมิติทางปัญญา
3. รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย พบว่า 1) ด้านกาย มีการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย กายบริหารในลานวัด ลานกีฬา จัดตั้งชมรมวิ่ง และจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพ 2) ด้านจิต มีการส่งเสริมให้นั่งสมาธิ เจริญจิตตภาวนา 3) ด้านปัญญา มีการแบ่งปันสิ่งของ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาวะ และการบริหารจัดการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และ 4) ด้านสังคม มีการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการ ในการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา |
|