dc.contributor.advisor |
ธีระศักดิ์ จันทร์วิเมลือง |
th_TH |
dc.contributor.author |
ศุภนิดา ปัทมา |
th_TH |
dc.contributor.author |
จิดาภา โตสวัสดิ์ |
th_TH |
dc.date.accessioned |
2023-09-13T06:09:22Z |
|
dc.date.available |
2023-09-13T06:09:22Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29018 |
|
dc.description.abstract |
Researchers have been working on designing and developing a device and method
for non-invasive blood glucose measurement that uses optical detection. The device
operates by emitting light energy at near-infrared radiation and near-red wavelengths
through areas of the body capable of detecting the contraction of PPG blood vessels, such
as the fingertips. This non-invasive approach to monitoring blood glucose levels is crucial
for individuals at risk of or suffering from diabetes or obesity, as it allows them to track
their blood glucose levels and receive appropriate treatment to maintain equilibrium. This
contrasts with current invasive measurement methods, such as self-monitoring blood
glucose, which requires a small needle to puncture the fingertip and collect a blood
sample. For individuals who need to measure their blood glucose levels daily, repeated
punctures can result in bodily injuries and larger wounds. The researchers’ technique
estimates blood glucose levels by analyzing characteristic signals obtained from the
contractile signal collection in a time-series manner. They found a correlation between
blood glucose data and 1 0 features, including heart rate signals, ac and de components,
perfusion index, and the ratio of the perfusion index between infrared and red-light signals.
The researchers created a blood glucose estimation model using a Polynomial
Regression model, based on the most correlated characteristics of the ac component and
perfusion index of the red-light signal. They tested the 1 st, 2nd, and 3rd derivatives in 2
participants over a period of 1 0 days, with each participant providing data for 5 days. The
blood glucose test was divided into two parts: the first part after glucose intake and theง
second part after eating, while controlling the subject’s diet. The first-order differential
regression model was found to be the most accurate, with an accuracy of 99.78% for the
red ac component model and 99.77% for the red-light perfusion index model. |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาระบบประมาณระดับกลูโคสในเลือดแบบไม่รุกล้ำ |
th_TH |
dc.title.alternative |
The development of a non-invasive blood glucose estimation system |
th_TH |
dc.type |
Working Paper |
th_TH |
dc.subject.keyword |
การตรวจระดับกลูโคสในเลือด |
th_TH |
dc.subject.keyword |
โฟโตพลีทีสโมแกรม |
th_TH |
dc.subject.keyword |
ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ |
th_TH |
dc.subject.keyword |
การสะท้อนของแสง |
th_TH |
dc.subject.keyword |
การดูดกลืนแสง |
th_TH |
dc.description.abstractthai |
โครงงานวิศวกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการวัดระดับกลูโคสในเลือด
แบบไม่รุกลํ้า โดยใช้วิธีการตรวจจับทางแสง โดยการส่งพลังงานแสงใกล้ความยาวคลื่นอินฟราเรด และช่วง
ความยาวคลื่นแสงใกล้สีแดง ผ่านบริเวณของร่างกายที่สามารถตรวจจับการบีบตัวของหลอดเลือด เช่น
ปลายนิ้วมือ หรือติ่งหู และนำสัญญาณการบีบตัวของหลอดเลือดที่ได้ มาวิเคราะห์และประมาณค่าระดับ
กลูโคสในเลือดให้สอดคล้องกับวิธีวัดแบบดั้งเดิม ซึ่งผู้วิจัยได้เห็นถึงความสำคัญในการตรวจวัดระดับกลูโคส
แบบไม่รุกลํ้า เพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มของค่าระดับกลูโคสของตนเอง เพื่อเข้ารับการรักษาควบคุมค่าระดับ
กลูโคสให้อยู่ในภาวะสมดุลในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน เนื่องจากวิธีตรวจวัดใน
ปัจจุบันเป็นแบบรุก เช่น การตรวจระดับกลูโคสในเลือดด้วยตนเอง ต้องทำการเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างเลือด
ที่ปลายนิ้วด้วยเข็มขนาดเล็ก ในกรณีของผู้ที่ต้องวัดค่ากลูโคสทุกวัน การเจาะเลือดซํ้า ๆ ย่อมไม่เป็นผลดี
เนื่องจากเป็นการรุกลํ้าร่างกายทำให้เกิดบาดแผลที่ใหญ่ขึ้นได้ ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอเทคนิคการประมาณค่า
ระดับกลูโคสในเลือดแบบไม่รุกลํ้าผ่านการประมวณผลสัญญาณการบีบตัวของหลอดเลือดที่ได้จากการเก็บ
ข้อมูลสัญญาณการบีบตัวของหลอดเลือด จากนั้นนำไปวิเคราะห์สัญญาณลักษณะเด่นเชิงอนุกรมเวลา ซึ่ง
คันพบความสัมพันธ์กันของข้อมูลระหว่างระดับกลูโคสในเลือดและลักษณะเด่นเชิงอนุกรมเวลา 10
ลักษณะเด่นได้แก่ สัญญาณอัตราการเต้นหัวใจของสัญญาณแสงอินฟราเรดกับสัญญาณแสงสีแดง, ac
component ของสัญญาณแสงอินฟราเรดกับสัญญาณแสงสีแดง, de component ของสัญญาณแสง
อินฟราเรดกับสัญญาณแสงสีแดง, ค่า Perfusion Index ของสัญญาณแสงอินฟราเรดกับสัญญาณแสงสี
แดง, และสัดส่วนของ Perfusion Index ระหว่างสัญญาณแสงอินฟราเรดกับสัญญาณแสงสีแดง
ผู้วิจัยได้นำลักษณะเด่นที่พบว่ามีความสัมพันธ์กันของข้อมูลมากที่สุดคือ ac component ของ
สัญญาณแสงสีแดง และ Perfusion Index ของสัญญาณแสงสีแดงไปสร้างโมเดลประมาณค่าระดับกลูโคส
ในเลือดโดยใช้รูปแบบสมการถดถอย โดยทดลองทั้งอนุพันธ์อันดับ 3, 2 และ 1 ในการนี้มีผู้เข้าร่วมทดลอง
จำนวน 2 คน โดยแบ่งเก็บผลการทดลองคนละ 5 วัน รวมระยะเวลาการเก็บผลการทดลองทั้งหมด 10 วัน
และแบ่งการทดสอบค่าระดับกลูโคสในเลือดเป็น 2 กรณีระยะเวลาการเก็บข้อมูลแบบละ 2 ชั่วโมง แบบ
แรกคือช่วงเวลาหลังจากการดื่มกลูโคส และช่วงเวลาหลังรับประทานอาหารโดยควบคุมมื้ออาหารของผู้
ทดลอง พบว่าโมเดลที่ใช้รูปแบบสมการถดถอยอนุพันธ์อันดับ 1 มีความแม่นยำมากที่สุด ข้อมูลแบบ
ช่วงเวลาหลังดื่มกลูโคส โมเดลที่ใช้ ac component ของสัญญาณแสงสีแดงมีความแม่นยำสูงสุดร้อยละ 99.78
และโมเดลที่ใช้ Perfusion Index ของสัญญาณแสงสีแดงแม่นยำสูงสุดร้อยละ 99.77 ส่วนข้อมูลแบบ
ช่วงเวลาหลังรับประทานอาหารกลูโคส โมเดลที่ใช้ ac component ของสัญญาณแสงสีแดงมีความแม่นยำ
สูงสุดร้อยละ 99.84 และโมเดลที่ใช้ Perfusion Index ของสัญญาณแสงสีแดงแม่นยำสูงสุดร้อยละ 99.77 |
th_TH |