dc.contributor.advisor | ศศิพิมล ประพินพงศกร | |
dc.contributor.author | ศรนารายณ์ บุญขวัญ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-27T08:17:17Z | |
dc.date.available | 2023-06-27T08:17:17Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28808 | |
dc.publisher | สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | |
dc.subject | พื้นที่ห้องสมุด | |
dc.subject | พื้นที่ทำงานร่วมกัน | |
dc.subject | การพัฒนาห้องสมุด | |
dc.subject | Library space | |
dc.subject | Coworking space | |
dc.subject | Library development | |
dc.title | แนวคิด: จากพื้นที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิมสู่การเป็นมากกว่าพื้นที่ | |
dc.type | Article | |
dc.description.abstractthai | บทความนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่ของห้องสมุดแบบดั้งเดิมในการใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บ ทรัพยากรสารสนเทศ และพื้นที่บริการนั่งอ่าน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพล ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ส่งผลให้ความต้องการและพฤติกรรมนั้นเปลี่ยนไป ทำให้ห้องสมุดมีการปรับตัวพลิกโฉมใน การจัดการพื้นที่ห้องสมุดให้มีบทบาทมากกว่าเดิมที่เคยเป็นมา ด้วยแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่ ทำงานร่วมกัน (Coworking Space) โดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้พื้นที่เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ความคิด สร้างสรรค์ การแบ่งปันความคิด และการสร้างเครือข่ายทางสังคม คุณลักษณะของพื้นที่ทำงานร่วมกันแบบร่วม สมัยซึ่งแบ่งตามลักษณะประเภทของผู้ใช้ ห้องสมุดได้ตระหนักถึงและให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการเป็น ศูนย์กลาง จึงได้พัฒนาบทบาทของพื้นที่ห้องสมุดให้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายมากกว่าเดิม ประกอบกับ แนวคิดที่พัฒนาต่อยอดจากเดิมโดยมีการกำหนดเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของห้องสมุด จึงเกิดเป็นแนวคิด The Four-Space Model ออกแบบพื้นที่ทั้ง 4 ให้มีปฏิสัมพันธ์โดยผสมผสานกันในทุกๆ มิติ ตามวัตถุประสงค์ ของห้องสมุด และผู้เขียนได้วิเคราะห์พื้นที่ของห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้ที่มีแนวคิด The Four-Space Model ครบทั้ง 4 มิติ |