dc.contributor.author |
กัลยาณี กุลชัย |
|
dc.contributor.author |
พีรชัย กุลชัย |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-16T01:58:51Z |
|
dc.date.available |
2023-06-16T01:58:51Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28506 |
|
dc.description |
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 11 |
|
dc.description.abstract |
The objectives of this research are to created guidelines for creative tourism activities according to the principle of the ancient Khmer solar calendar of Phra That Phu Pek in one year by using a participatory research process. This study method was qualitative research with contained of 2 steps, first it is to study the potential of tourism areas and study stakeholders needs in each unit and community by using in-depth interview methods with key informants . Second , all data was used to develop creative tourism activities from Khmer solar calender. The results revealed that the stakeholders wanted to create a tourism program of Prathat Phuphek Castle in cooperation with government agencies, community, schools and temples. These will allow tourists to know and visit the place because they believe in the power of the sun. So they want to practice Dharma, keep the precepts, affect their mind. The touirst needed to improve the facilities especially toilets, water use, waste management. In research created creative tourism programs to link between dharma, nature and culture, especially linking with the indigo-dyed fabric culture of Phu Tai people. The duration of the activity is 2 days 1 night. They must be preparation of villagers and communities to accommodate specific groups of tourists who wish to travel according with their beliefs and faith. especially local guides, guides on ecotourism routes. Accommodation and food service. |
|
dc.subject |
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ |
|
dc.subject |
ความเชื่อและวัฒนธรรม |
|
dc.subject |
สุริยะปฏิทินขอมโบราณ |
|
dc.subject |
วิจัยแบบมีส่วนร่วม |
|
dc.subject |
Creative tourism |
|
dc.subject |
Beliefs and culture |
|
dc.subject |
Ancient Khmer solar calendar |
|
dc.subject |
Participations research |
|
dc.title |
แนวทางการพัฒนาด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางความเชื่อและวัฒนธรรม ตามสุริยะปฏิทิน
บนพื้นที่พระธาตุภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร ด้วยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม |
|
dc.title.alternative |
Guidelines for Developed Creative Tourism Activities in the Beliefs and Cultures According to the Solar Calendar on Phra That Phu Phek Area Sakon Nakhon Province with
Community Participatory Research |
|
dc.type |
Article |
|
dc.description.abstractthai |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อหาแนวทางการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บริเวณพระธาตุภูเพ็กตามหลักการของสุริยะปฏิทินขอมโบราณใน 1 รอบปี โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน วิธีการศึกษา ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีขั้นตอนการศึกษา 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ ศึกษาศักยภาพของพื้นที่ท่องเที่ยว ศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละหน่วยงาน ชุมชน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลมาพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากสุริยะปฏิทิน ผลการศึกษาพบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการที่จะสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวของปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ให้มีรูปแบบที่เป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานรัฐ บ้านหรือชุมชน โรงเรียน และวัด ถ้าสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้นักท่องเที่ยวได้ทราบและมาท่องเที่ยว สำหรับตัวนักท่องเที่ยวมาพระธาตุภูเพ็ก เพราะเชื่อในการรับพลังจากดวงอาทิตย์ ต้องการมาปฏิบัติธรรม รักษาศีล มีผลต่อความสุขของจิตใจ ต้องการให้มีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวทางด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะการจัดการเรื่องห้องน้ำ และจัดหาน้ำสำหรับใช้ในระหว่างพักแรมบนภูเพ็ก มีการจัดการขยะ ในงานวิจัยได้มีการสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงระหว่างธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมผ้าย้อมครามของชาวภูไท โปรแกรมการท่องเที่ยวมีระยะเวลาใน การทำกิจกรรม 2 วัน 1 คืน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการเตรียมความพร้อมของชาวบ้านและชุมชนในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะที่ประสงค์มาตามความเชื่อและศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านไกด์ท้องถิ่น ผู้นำทางเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การจัดหาที่พัก และบริการทางด้านอาหาร |
|