DSpace Repository

ภาพตัวแทนของซุนยัตเซ็นในมุมมองของรัฐบาลสยาม ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2446-2453

Show simple item record

dc.contributor.author วัฒนา กีรติชาญเดชา
dc.date.accessioned 2023-06-13T09:45:39Z
dc.date.available 2023-06-13T09:45:39Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28459
dc.description รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 8
dc.description.abstract This Article studied about the representation of Sun Yat-sen, which was represented or stand for by the Government of Siam, from the Sun Yat-sen’s first travel in 1903 to Siam until the end of King Chulalongkorn’s Reign at 1910. This study aimed to analyze the perspective of Siamese government to find origins of meaning and ideology behind the representation, with representation theory. The research question of this study are how did the government of Siam stand for Sun Yat-sen, with any ideology and political context? and how did his representation affect to overseas Chinese in Siam? This study is research based on the analysis of text on government document that related to Sun Yat-sen during the reign of King Chulalongkorn. Using representation theory to represent the process of creating representations and results of representations created by the Siamese government, which communicated through language in the form of words and phrases, including political policy and practice. From Ro.5 To.21/10 Chinese Sun Yat-sen [ร.5 ต.21/10 จีน ซัน ยัด เซน] in National Archives of Thailand. The result found that the Siamese government defined Sun Yat-sen as “Reformer”, by using the classification of persons based on political ideology and movement. Thus, Sun Yat-sen to be an unwanted person and he was segregated from the Chinese who came to rely on the King, because Sun Yat-sen's Republican ideology didn’t match or benefit the absolute monarchy of the Siamese government, may lead to turmoil the kingdom. When the political contexts of Siam have been changed, with the Chinese Nationalism in Siam was blooming. The overseas Chinese in Siam supported the Sun Yat-sen's political activities, which was influenced Sun Yat-sen's representation as political threat to the state, and challenged the ideology of absolute monarchy which was the heart of the Siamese government. The perspective of the Siamese government to the overseas Chinese in Siam was changed, and lead to the creation of "the Other within" to the overseas Chinese in Siam during the reign of King Vajiravudh.
dc.subject ความเป็นอื่น
dc.subject ชาวจีนโพ้นทะเล
dc.subject ซุนยัตเซ็น
dc.subject จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
dc.subject Otherness
dc.subject Overseas Chinese
dc.subject Sun Yat-sen
dc.subject King Chulalongkorn
dc.subject Representation
dc.title ภาพตัวแทนของซุนยัตเซ็นในมุมมองของรัฐบาลสยาม ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2446-2453
dc.title.alternative The Representation of Sun Yat-sen on Government of Siam’s Perspective during the Late Reign of King Chulalongkorn, 1903-1910
dc.type Article
dc.description.abstractthai บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาพตัวแทนของซุนยัตเซ็นที่รัฐบาลสยามนิยามขึ้นในการเดินทางเข้ามาสยามครั้งแรกของซุนยัตเซ็นใน พ.ศ. 2446 จนกระทั่งการสิ้นสุดรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2453 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงภาพตัวแทนและการนิยามความหมายต่อซุนยัตเซ็นจากมุมมองของรัฐบาลสยามและอุดมการณ์เบื้องหลังของรัฐบาลสยามที่ก่อให้เกิดภาพตัวแทนดังกล่าวขึ้น โดยใช้ทฤษฎีภาพตัวแทน (Representation) และมีคาถามวิจัยคือรัฐบาลสยามมีภาพตัวแทนต่อซุนยัตเซ็นอย่างไร โดยได้รับอิทธิพลจากอุดมการณ์หรือบริบททางการเมืองใด รวมถึงส่งผลต่อการสร้างความเป็นอื่นต่อชาวจีนโพ้นทะเลในสยามอย่างไร การวิจัยนี้เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทจากเอกสารของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับซุนยัตเซ็นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านการใช้ทฤษฎีภาพตัวแทนเพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการสร้างภาพตัวแทนและผลลัพธ์ของภาพตัวแทนที่รัฐบาลสยามสร้างขึ้น ที่สื่อความหมายผ่านทางภาษาในรูปของคำและ วลี รวมทั้งผ่านทางนโยบายและหลักปฏิบัติ โดยอาศัยการศึกษาจากเอกสารกระทรวงต่างประเทศ รัชกาลที่ 5 ต.21/10 จีน ซัน ยัด เซน จากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผลวิจัยพบว่ารัฐบาลสยามให้นิยามซุนยัตเซ็นว่าเป็น “ริฟอเมอร์” ซึ่งในหลักการแบ่งประเภทบุคคลของรัฐถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์และสร้างความเป็นอื่นออกจากชาวจีนโพ้นทะเลทั่วไปที่เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภาร เนื่องจากอุดมการณ์สาธารณรัฐนิยมของซุนยัตเซ็นไม่สอดรับหรือให้ประโยชน์กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของรัฐบาลสยาม จึงเป็นที่ไม่ไว้วางใจว่าจะก่อความวุ่นวายทางการเมืองในพระราชอาณาจักร เมื่อบริบททางการเมืองในสยามเปลี่ยนไปจากชาตินิยมจีนโพ้นทะเลในสยามที่เบ่งบานขึ้น การที่ชาวจีนโพ้นทะเลในสยามสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองของซุนยัตเซ็นส่งผลต่อภาพตัวแทนของซุนยัตเซ็นให้กลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐ ทำให้ทัศนะของรัฐบาลสยามต่อชาวจีนโพ้นทะเลในสยามเปลี่ยนแปลงไป นำไปสู่การสร้าง “ความเป็นอื่น” ต่อความเป็นจีนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics