dc.contributor.author |
เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-13T09:41:09Z |
|
dc.date.available |
2023-06-13T09:41:09Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28445 |
|
dc.description |
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 9 |
|
dc.description.abstract |
This research aims at studying purposes and behavior of Srinakharinwirot University’s students regarding to the internet usage related to their studying and examining demographics which affect to internet usage behavior in political participation of students. It also studies the relationship between the internet usage behavior in education and political participation. Questionnaires were used in collecting data. The sample was 400 students who were accidentally selected from students attending bachelor degree in Srinakharinwirot University. Independent variables were (1) demographic factors such as gender, field and year of study, domicile and income and (2) internet usage behavior related to the studying (searching information, following up and usage of information and university’s policy in supporting the access of internet usage). Dependent variable was internet usage behavior related to political participation. The statistical analysis of variance was t-test, one-way analysis of variance and Peerson Product Moment Correlation. The results are as follows: 1. The majority of the sample group was female, studying at Faculty of Social Sciences and Faculty of Humanities, was the second year student, lived in Bangkok and the perimeters and average income per month was lower than 6,000 Baht. 2. Demographic survey reveals that students with different genders and fields of study had different behavior on the usage of internet related to political participation at a statistical. Students with different year of study and domiciles had no different behavior on the usage of internet related to political participation. 3. The internet usage behavior in searching, following up and using of information and university’s policy in supporting the internet access were positively correlated at low level with behavior on the usage of internet related to political participation on the effect of decision making in political expression at a statistical significant level of .05. 4. The internet usage behavior in studying regarding to searching, following up and using of information and university’s policy in supporting the internet access was positively correlated at very–low level with internet usage behavior related to political participation in following up political news at a statistical significant level of .05. |
|
dc.subject |
สื่ออินเทอร์เน็ต |
|
dc.subject |
การมีส่วนร่วมทางการเมือง |
|
dc.subject |
พฤติกรรมการใช้สื่อ |
|
dc.subject |
Internet Media |
|
dc.subject |
Political Participation |
|
dc.subject |
Internet Usage Behavior |
|
dc.title |
พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการศึกษา การติดตามข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
|
dc.title.alternative |
The Internet Usage Behavior of Srinakharinwirot University’s Students related to the studying, the following up of Information and the Political Participation |
|
dc.type |
Article |
|
dc.description.abstractthai |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ของการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของนิสิต พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตต่อการศึกษาของนิสิต ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิต และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตต่อการศึกษากับพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิต โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มประชากร ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 400 คน โดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Selection) ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยตัวแปรอิสระ ได้แก่ (1) ลักษณะชีวสังคมและภูมิหลัง เช่น เพศ คณะที่ศึกษา ชั้นปีที่ศึกษา ภูมิลำเนาและรายได้ (2) พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตต่อการศึกษา (ด้านการสืบค้นข้อมูล ด้านการติดตามข่าวสาร ด้านการนำข้อมูลไปใช้ และด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ต) และตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแตกต่าง โดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีรายได้ต่ากว่า 6,000 บาท 2. นิสิตที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และคณะที่ศึกษา แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตที่ศึกษาชั้นปีและภูมิลำเนาต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน 3. พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตต่อการศึกษาด้านการสืบค้นข้อมูล ด้านการติดตามข่าวสาร ด้านการนำข้อมูลไปใช้ และด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้านอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการแสดงออกทางการเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระดับค่อนข้างต่ำ 4. พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตต่อการศึกษาด้านการสืบค้นข้อมูล ด้านการติดตามข่าวสาร ด้านการนำข้อมูลไปใช้ และด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ระดับต่ำมาก |
|