DSpace Repository

บวร : ความยั่งยืนของอัตลักษณ์เวียงแพร่

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐ นาคเกษม
dc.contributor.author ธิดารัตน์ แผนพรหม
dc.date.accessioned 2023-06-13T09:41:09Z
dc.date.available 2023-06-13T09:41:09Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28443
dc.description รวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 7 วันที่ 30 มิถุนายน 2560
dc.description.abstract This study, “Bor-won : The sustainability of identity in Wiang Phrae, is a qualitative research which aims to study the relation between house, temple, and school which leads to sustainability of identity in Wiang Phrae. The methodology adopted in the study includes document research, in-depth interview and participant observation. Key informants in the study consist of community leaders, community philosophers. spiritual leaders and the elderly in the area. The study results indicated nowadays Wiang Phrae is an individual society. Social Practice is reflection of collective memory of local people from history such as Robbery of Ngiaw or wood business of Jao-wong Sansiripant. The collective memory causes an uniqued social phenomenon leads to an assembly of the identity in Wiang Phrae nowadays. The social phenomena in Wiang Phrae can be seen in types of traditions, culture, and worships. In addition, the relation between house temple and school is shown in the market. The market is an area of students to show their performances’ in playing, singing and dancing. The study concludes that the image of social institutions, house templs and school, has shown the sustainability of the relation in the area since in the past and leads to the sustainability identity nowadays.
dc.subject เวียงแพร่
dc.subject อัตลักษณ์
dc.subject Nai-Wiang, Phrae
dc.subject Identity
dc.title บวร : ความยั่งยืนของอัตลักษณ์เวียงแพร่
dc.title.alternative Bor-won : The sustainability of identity in Wiang Phrae
dc.type Article
dc.description.abstractthai บทความเรื่อง “บวร” : ความยั่งยืนของอัตลักษณ์เวียงแพร่ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของบ้าน วัด โรงเรียนที่นำไปสู่ความยั่งยืนของอัตลักษณ์เวียงแพร่ โดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการเก็บข้อมูลในภาคสนามจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พร้อมทั้งมีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) ในการศึกษาครั้งนี้มีผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) หลัก ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้เฒ่าผู้แก่ ผลการศึกษาพบว่า ในเวียงแพร่ปัจจุบันเป็นสังคมที่ความเป็นปัจเจกจากสังคมภายนอก มีปฏิบัติการทางสังคมที่เป็นภาพสะท้อนความทรงจำร่วมของคนในพื้นที่จากเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงี้ยวปล้นเมืองแพร่หรือการทำไม้ของเจ้าโว้ง ความทรงจำร่วมดังกล่าวก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคมในเวียงแพร่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนนำไปสู่การประกอบร่างของอัตลักษณ์เวียงแพร่ในปัจจุบัน สำหรับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ขึ้นในเวียงแพร่จะพบเห็นได้ในรูปแบบของประเพณี วัฒนธรรม และพิธีกรรมที่ถูกจัดขึ้น นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง “บวร” ยังมีให้เห็นในพื้นที่ของตลาดที่เรียกว่า กาด ตามภาษาท้องถิ่น โดยกาดในเวียงแพร่เป็นพื้นที่แสดงตัวตนของเด็กและนักเรียนสู่สายตาของสังคมเวียงแพร่ ผ่านการแสดงความสามารถในลักษณะการร้อง เล่น เต้น รา อาจกล่าวได้ว่า ภาพสถาบันทางสังคมของบ้าน วัด และโรงเรียนภายในเวียงแพร่เหล่านี้เป็นความยั่งยืนของความสัมพันธ์ภายในพื้นที่ที่มีมาตั้งแต่ในอดีตและนำไปสู่อัตลักษณ์อันยั่งยืนของเวียงแพร่จนปัจจุบัน


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics