dc.contributor.author |
สิริภา สงเคราะห์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-13T09:41:09Z |
|
dc.date.available |
2023-06-13T09:41:09Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28435 |
|
dc.description |
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 8 |
|
dc.description.abstract |
This research aimed to study the development, potential and problems of the Yannawa Community Organization Council. This study used the James Mckernan’s Theory, 3 concepts of action research are: 1) encouraging people (sample group) to understand in various situations and problems. 2) systematic problem solving. 3) illuminated the society situations, then analyzed follow by purposes and conclusion from variety dimension data. The research findings that the second work agenda of the Yannawa Community Organization Council began to be more proactive by setting up a knowledge forum and motivating people to participate in the development planning formulation process. The potential of the community organization council has many aspects, such as perception of its roles. more than ever. The people participation in the public forum was used to solving problems both of the community and the district level. Also, adapted to a variety of flexibility base on issues and purposes. Its operation focused on the community’s problems, actively monitoring in knowledge management forum. The consultants have expertise to convince the participants of public forum. The community organization council contributed to create the Development Planning of Yannawa District. (2014-2017) and raised the housing problem is "1 hot Issue 1 plan of district". There are collaborations between communities in Yannawa District with another areas and their partnerships. These are the basis of the realization for development participation and citizen awareness that encourage democratization in local. The problems of the community organization council are: there are some people in the communities have been still not awake and do not understand the roles and performance of the community organization council. The budgetary constraints affected to its management and movement. So the guidelines for potential development are that the community organization council still provide knowledge and information about its roles in order to develop the public acknowledgement and has accepted usefulness of public forum. Also, should provide a housing discussion through district forum. The district level should select important issues bring to provincial forum discussion and to provide national policies to encourage the implementation and resolution for the district level such as the budget subsidization. There should also be a working group of the provincial level become as a mentor to empower the district level. |
|
dc.subject |
องค์กรชุมชน |
|
dc.subject |
การมีส่วนร่วม |
|
dc.subject |
ชุมชนจัดการตนเอง |
|
dc.subject |
องค์กรชุมชน |
|
dc.subject |
the potential of community organ |
|
dc.subject |
self- management |
|
dc.title |
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการทำงานของสภาองค์กรชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา สภาองค์กรชุมชนเขตยานนาวา |
|
dc.title.alternative |
The Guidelines for Potential Development of the Community in Bangkok. Case Study: Yannawa Community Organization CouncilOrganization Council |
|
dc.type |
Article |
|
dc.description.abstractthai |
การวิจัยนี้เพื่อศึกษาพัฒนาการของสภาองค์กรชุมชนเขตยานนาวา ศักยภาพและปัญหาอุปสรรคด้านต่าง ๆ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาศักยภาพ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของ James Mckernan.การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมให้ชาวบ้าน (กลุ่มตัวอย่าง) เข้าใจในสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ 2) ปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ 3) สร้างความกระจ่างในสังคมอย่างรอบด้านแล้ววิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ข้อมูลแต่ละประเด็นในมิติต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า การทำงานวาระที่สอง( ช่วง 2 ปีแรก) ของสภาองค์กรชุมชนเขตยานนาวาเริ่มดำเนินงานเชิงรุกมากขึ้น โดยจัดเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นชาวบ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สภาองค์กรชุมชนมีศักยภาพหลายด้าน เช่น แกนนำเข้าใจบทบาทของสภาองค์กรชุมชนมากขึ้น มีการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในเวทีสาธารณะทั้งระดับกลุ่มย่อยและเวทีระดับเขต มีการปรับใช้วิธีการที่หลากหลายและยืดหยุ่นตามประเด็นและเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับทุกชุมชนที่เกิดปัญหาและติดตามงานอย่างจริงจัง มีการถอดสรุปบทเรียนร่วมกัน ทีมที่ปรึกษามีความเชี่ยวชาญและทักษะในการจัดเวที มีภาคีเครือข่ายหลากหลาย สภาองค์กรชุมชนสามารถผลักดันให้เกิดแผนพัฒนาของพื้นที่เขตยานนาวา พ.ศ. 2557 – 2560และยกการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยเป็น “แผนเด่นประเด็นร้อน 1 แผน 1 เขต”ฯ เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนกับชุมชนและชุมชนกับภาคีเครือข่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานการสร้างสำนึกการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและจิตสำนึกความเป็นพลเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยระดับฐานรากของสังคม ปัญหาการดำเนินงานคือชาวบ้านที่ประสบปัญหาไล่รื้อบางส่วนยังไม่ค่อยตื่นตัว รวมทั้งยังไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เข้าใจบทบาทและประโยชน์สภาองค์กรชุมชน มีอุปสรรคด้านงบประมาณในการดำเนินงานและเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหา ดังนั้นแนวทางการพัฒนาศักยภาพคือสภาองค์กรชุมชนยังคงต้องให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ให้ชาวบ้านรับทราบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีสาธารณะให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ควรมีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นด้านที่อยู่อาศัยผ่านเวทีระดับเขต สำหรับบทบาทระหว่างสภาองค์กรชุมชนระดับเขตกับสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัดและระดับชาติ ที่ควรเป็นได้แก่ระดับเขตควรนำปัญหาที่สำคัญเข้าพิจารณาในที่ประชุมระดับจังหวัดเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน เสนอนโยบายต่อสภาองค์กรชุมชนระดับชาติให้สนับสนุนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาระดับเขตอย่างเป็นรูปธรรม เช่นสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมทั้งควรมีคณะทำงานของระดับจังหวัดเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงและเพิ่มศักยภาพการทำงานในระดับเขต |
|