DSpace Repository

การศึกษาการเลือกใช้วิธีการเดินทางโดยระบบขนส่งภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์
dc.contributor.author พิมพ์พิชชา เจริญชัยกรณ์
dc.contributor.author วิกรม บุญรัตนาคม
dc.contributor.author เตวิช พงษ์ดี
dc.contributor.author ปิยะนุช ทุนผลงาม
dc.contributor.author มณิชญาภา ศานติประโพธ
dc.contributor.author เพ็ญศุภางค์ เล้าแสงฟ้า
dc.contributor.author ศุภิสรา คำเพราะ
dc.contributor.author ณัฐพงศ์ ศักดิ์ศิริผล
dc.date.accessioned 2023-06-02T09:18:58Z
dc.date.available 2023-06-02T09:18:58Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28394
dc.description.abstract The purpose of this research aimed to study consideration of Thai tourist preferences to domestic transportation in Thailand. The factors that Thai tourist preferences of transportation in Thailand and the process to develop the domestic transportation and the result that used in research was the tourists that travel by train, bus and aircraft in a range of November 2017. The result in this research were calculated by 402 Thai passengers who used the transportation in Thailand. Questionnaire was the part of the tool for data collection. Result were as follow: 1. The result of this study was 402 Thai tourists. Most of the tourists were female more than male in the age group of 15-25 years old. Most of them were graduated from Bachelor Degree, and studied in under graduate program, single, and had the average income between 10,001-20,000 baht. Most of them prefer to transport by aircraft and had about 2-3 companions. The range of travel was about more than 5 days and like to travel in weekdays. The budget of the transportation was less than 5,000 baht and the frequency to transport for vacation about 1-2 trips in a year. 2. Result of the correlation test between independent variable and the consideration by the tourists in preferences to domestic transportation in Thailand with statistical in .05 levels. 2.1 From the correlation test between independent variable; sex, age, education, career, relation status, purpose of transport, companion, duration of transportation, season of transportation, with the preferences to domestic transportation by Thai tourist. The statistical tests were discovered that the difference of the independent variable influence to the preferences to domestic transportation was not difference. 2.2 From the correlation test between independent variable; income, the types of transportation, types of the companion, budget and the frequency that use transportation. With the preferences to domestic transportation by Thai tourists. The statistical tests were discovered that the difference of the independent variable influence to the preferences to domestic transportation was difference.
dc.language th
dc.publisher คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
dc.subject การเดินทาง
dc.subject ระบบขนส่งโดยสาร
dc.subject นักท่องเที่ยว
dc.subject Tourism
dc.subject Transportation
dc.subject Tourists
dc.title การศึกษาการเลือกใช้วิธีการเดินทางโดยระบบขนส่งภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย
dc.title.alternative The study of Thai tourist preferences to domestic transportation in Thailand
dc.type Working Paper
dc.description.abstractthai การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายคือ เพื่อศึกษาการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสารภายในประเทศของนักท่องเที่ยว ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสารภายในประเทศของนักท่องเที่ยว และแนวทางในการพัฒนาระบบขนส่งโดยสารภายในประเทศเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่กำลังจะเดินทางท่องเที่ยว จำนวน 402 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวมข้อมูล จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1. นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 15 - 25 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา มีสถานภาพโสด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อพักผ่อน มีการเลือกใช้ชนิดของระบบขนส่งโดยสารเครื่องบิน มีจำนวนผู้ร่วมเดินทาง 2 - 3 คน มีระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว 5 วันขึ้นไป มีช่วงเวลาในการเดินทาง ในวันธรรมดา มีงบประมาณในการเดินทางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท 2. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับสิ่งที่นักท่องเที่ยวคำนึงถึงต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสาร ที่ระดับนัยสำคัญ .05 สรุปผลได้ดังนี้ 2.1 จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส วัตถุประสงค์ในการเดินทาง จำนวนผู้ร่วมเดินทาง ระยะเวลาในการเดินทาง ช่วงเวลาในการเดินทาง กับสิ่งที่นักท่องเที่ยวคำนึงถึงต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสาร ได้ผลดังนี้ ตัวแปรอิสระกับการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสาร เมื่อทำการทดสอบทางสถิติแล้วพบว่าตัวแปรอิสระที่ต่างกันมีผลต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสารไม่แตกต่างกัน 2.2 จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร รายได้ ชนิดของระบบขนส่งโดยสาร ลักษณะในการเดินทางท่องเที่ยว ลักษณะผู้ร่วมเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (งบประมาณ) และความถี่ในการใช้ระบบขนส่งโดยสาร กับสิ่งที่นักท่องเที่ยวคำนึงถึงต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสาร ได้ผลดังนี้ ตัวแปรอิสระกับการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสาร เมื่อทำการทดสอบทางสถิติแล้วพบว่า ตัวแปรอิสระเหล่าที่ต่างกันมีผลต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งโดยสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ .05


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics