dc.contributor.author |
นัทชาริน อาษาธง |
|
dc.date.accessioned |
2023-02-22T07:46:22Z |
|
dc.date.available |
2023-02-22T07:46:22Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27935 |
|
dc.language |
th |
|
dc.publisher |
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (สาขาฟิสิกส์) โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) |
|
dc.subject |
วิจัยในชั้นเรียน |
|
dc.subject |
ผลสัมฤทธิ์ |
|
dc.subject |
เจตคติ |
|
dc.subject |
ความแปรปรวนพหุนาม |
|
dc.title |
การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามสำหรับเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนที่เรียนวิชาฟิสิกส์โดยใช้นวัตกรรมสื่อปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงและการสอนแบบปกติ |
|
dc.type |
Article |
|
dc.description.abstractthai |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของ
นักเรียนที่เรียนวิชาฟิสิกส์โดยใช้นวัตกรรมสื่อปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงและการสอนแบบปกติ ประชากรที่
ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 ห้องเรียน ประกอบด้วยนักเรียนห้อง GHS จำนวน 38 คน ห้อง SGS จำนวน 29
คน และห้องวิทยาศาสตร์ จำนวน 43 คน รวม 110 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนโดยใช้นวัตกรรมสื่อปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง
จำนวน 1 ห้อง คือ ห้อง GHS มีจำนวน 28 คน (ตามความสมัครใจของนักเรียนในการเก็บผลการวิจัยระหว่าง
เรียน) และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนโดยใช้วิธีแบบปกติ
จำนวน 1 ห้อง คือ ห้อง SGS มีจำนวน 29 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 18 คาบ
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเรื่องคลื่นกลและเสียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ มีค่า
ความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้น ม.5 เรื่อง คลื่น
กลและเสียง มีค่าความยากง่ายทั้งฉบับเท่ากับ 0.64 และค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับเท่ากับ 0.68 วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One-Way MANOVA) ซึ่งผลการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนตัวแปรพหุนามของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และเจตคติทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ พบว่า
อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวิธีการสอนที่ต่างกันส่งผลต่อเวคเตอร์ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาฟิสิกส์และเจตคติทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
|