dc.contributor.advisor | ศศิพิมล ประพินพงศกร | th_TH |
dc.contributor.author | ธัชบดินทร์ ภาคธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | นิธิพัฒน์ แสงวิเชียร | th_TH |
dc.contributor.author | ภัครมัย อุทัยกิจวานิช | th_TH |
dc.contributor.author | มานิตา โยธารัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | ชิสา ไวยพฤกษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | เอกรพี กกรัมย์ | th_TH |
dc.contributor.author | ชัยวัฒน์ เรืองคำ | th_TH |
dc.contributor.author | พรพรรณ มาใหม่ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-01-30T01:01:01Z | |
dc.date.available | 2023-01-30T01:01:01Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27841 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.title | ความต้องการแอปพลิเคชันสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | th_TH |
dc.type | Working Paper | th_TH |
dc.subject.keyword | แอปพลิเคชัน | th_TH |
dc.subject.keyword | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักหอสมุดกลาง | th_TH |
dc.subject.keyword | ห้องสมุด | th_TH |
dc.subject.keyword | ความต้องการ | th_TH |
dc.description.abstractthai | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการแอปพลิเคชันสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ของนิสิตและอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในด้าน 1.ด้านการออกแบบ 2.ความต้องการด้านเนื้อหา ทรัพยากร บริการ และกิจกรรม 3.ความต้องการด้านตัวช่วยในการค้นหาและการเข้าถึงข้อมูล 4.ความต้องการด้านรูปแบบการทำงานของแอปพลิเคชัน และ 5.ปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชัน และปัญหาแอพพลิเคชันยังไม่เป็นที่รู้จัก และยังไม่ได้มีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ อาจจะด้วยความไม่พร้อมทางด้านเนื้อหา หน้าการออกแบบ การให้บริการต่างๆในแอปพลิเคชัน ที่อาจจะยังไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 – 4 นิสิตระดับปริญญาโท และ อาจารย์ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสารสนเทศศึกษา จำนวน 3 ทั้งหมด 15 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่าความ 1.ด้านการออกแบบ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ต้องการเลย์เอาท์ในแต่ละหน้าที่ใช้งานง่าย เป็นระเบียบ มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย มีปุ่มฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นปุ่มการแจ้งเตือน โทนสีที่สบายตา และที่สำคัญจะต้องมีสีหลักของมหาวิทยาลัย ซึ่งก็คือ เทา-แดง รูปแบบตัวอักษร ควรเป็นฟอนต์ที่เป็นทางการ และมีขนาดที่เหมาะสม และสามารถรองรับกับสมาร์ตโฟนได้ทุกระบบปฏิบัติการ เมนูในแอปพลิเคชัน ต้องการให้มีการแยกปุ่มประเภทการใช้งานอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ปุ่มหน้าหลัก ปุ่มหน้าแนะนำ เป็นต้น 2.ความต้องการด้านเนื้อหาทรัพยากร บริการ และกิจกรรม ด้านเนื้อหาทรัพยากร ต้องการหนังสือที่เป็นประเภทบันเทิง ผ่อนคลาย และหนังสือที่เพิ่มเข้ามาควรจะเป็นหนังสือที่กำลังได้รับความนิยม ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ด้านบริการ มีบริการจองพื้นที่สำหรับการอ่านหนังสือ บริการจองห้องประชุม บริการแผนที่บอกทางในแอปพลิเคชันเพื่อที่จะสามารถหาที่อยู่ของหนังสือในห้องสมุดได้ บริการยืมหนังสือผ่านแอปพลิเคชันและสามารถส่งคืนผ่านไปรษณีย์ได้ ด้านกิจกรรม ต้องการให้แอปพลิเคชันมีกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการอ่าน เช่น กิจกรรมการแข่งขันอ่านหนังสือ เป็นต้น 3. ความต้องการด้านตัวช่วยในการค้นหาและการเข้าถึงข้อมูล มีความต้องการในเรื่อง Search box คือสามารถค้นได้ด้วย Metadata หรือข้อมูลพื้นฐานของหนังสือ อย่างเช่น ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ ชื่อผู้แปล และการค้นหาหนังสือด้วยเสียงและรูปภาพ 4.ความต้องการด้านรูปแบบการทำงานของแอปพลิเคชัน ผู้ให้ข้อมูลต้องการใช้งานในรูปแบบของออฟไลน์เช่นการโหลด E-book เข้ามาไว้อ่าน จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต และเรื่องการลงทะเบียนจะเน้นไปที่การล็อกอินด้วยบัวศรีไอดี เพื่อการสับสนบัญชีที่จะเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน ส่วนปัญหาพบว่าแอปพลิเคชันยังไม่เป็นที่รู้จัก และยังไม่ได้มีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ อาจจะด้วยความไม่พร้อมทางด้านเนื้อหา หน้าการออกแบบ การให้บริการต่างๆในแอปพลิเคชัน ที่อาจจะยังไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน | th_TH |