dc.contributor.advisor |
สินศุภา จุ้ยจุลเจิม |
th_TH |
dc.contributor.author |
ณัฐหทัย กสิชาญ |
th_TH |
dc.contributor.author |
ธิดารัตน์ มีคช |
th_TH |
dc.date.accessioned |
2023-01-11T07:18:12Z |
|
dc.date.available |
2023-01-11T07:18:12Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27773 |
|
dc.description.abstract |
The aim of the chemical engineering project was to study fluid flow in an air pulse mixing tank by analyzing the transport of the air bubble which occurs in the Process. The mixing tank consists of an acrylic cylinder tank with 6.9 liter working volume, an accumuration plate, connected which a stainless steel tube, used as an air distributor. The volume and pressure of compressed air was controlled by a solenoid valve. The experiment was set into two parts; part I, to study the effect of the size of the accumulation plate as well as the height of that from the bottom of the mixing tank on the velocity of the bubble in both vertical and radial direction during its flow through water. Part II, to study the bubble flow through viscous fluid. The viscosity of the viscous fluid was adjusted by altering the mixing ratio of coconut oil and mineral oil. The result from the experimental part I indicated that the diameter of the accumulation plate did slightly affect the radial velocity and the size of the bubble did not affect its vertical velocity. The maximum radial velocity was observed during the 0.02 second of the experiment, and then it decreased to nil when the air bubble reached the surface of the fluid. Furthermore, the height of the gap of the accumulation plate from the tank bottom strongly affected the maximum radial bubble velocity. The narrower the gap was the higher the velocity was observed. The flow of the bubble through the viscous fluid exhibited the same phenomenon as it flew through water. The maximum radial velocity of the air bubble was inversely proportional to the viscosity of the fluid. |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาลักษณะการไหลของน้ำมันที่ความหนืดต่างกันโดยใช้อากาศอัด |
th_TH |
dc.title.alternative |
A study of viscous oil mixing characteristic by pulse-air |
th_TH |
dc.type |
Working Paper |
th_TH |
dc.subject.keyword |
การไหลแบบหนืด |
th_TH |
dc.subject.keyword |
การผสมแบบใช้อากาศอัด |
th_TH |
dc.description.abstractthai |
โครงงานวิศวกรรมเคมีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการไหลของของเหลวในถังผสมแบบใช้อากาศอัดโดยผ่านการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของฟองอากาศ ถังผสมประกอบด้วยถังอะคริลิคทรงกระบอกมีปริมาตร 6.9 ลิตรและแผ่นกระจายลมที่ต่อกับท่อสแตนเลสที่ใช้ปล่อยอากาศ มีการควบคุมปริมาณและความดันของอากาศอัดด้วยโซลินอยด์วาล์ว โดยการทดลองจะแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาผลของการเปลี่ยนเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นกระจายลมและศึกษาระยะห่างระหว่างแผ่นกระจายลมกับพื้นถังผสมที่ส่งผลต่อความเร็วในการเคลื่อนที่ของฟองอากาศผ่านน้ำ ทั้งในแนวดิ่งและแนวแกนรัศมี ตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะการไหลของฟองอากาศผ่านของเหลวที่มีความหนืด โดยมีการเปลี่ยนอัตราส่วนการผสมของน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมิเนรอลเพื่อให้ได้ของเหลวที่มีความหนืดต่างกัน ผลการทดลองตอนที่ 1 แสดงให้เห็นว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นกระจายลมมีผลต่อความเร็วตามแนวแกนรัศมีและขนาดของฟองอากาศน้อยแต่ไม่มีผลกระทบกับความเร็วในแนวดิ่ง ส่วนความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนที่ของฟองอากาศตามแนวแกนรัศมีเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 0.02 วินาทีแรกของการทดลองและความเร็วลดลงจนกลายเป็นศูนย์ เมื่อฟองอากาศเคลื่อนที่ขึ้นถึงผิวหน้าของของเหลว นอกจากนี้ระยะห่างระหว่างแผ่นกระจายลมกับพื้นถังผสมมีผลต่อความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนที่ของฟองอากาศตามแนวแกนรัศมี นอกจากนี้การเคลื่อนที่ของฟองอากาศผ่านของเหลวที่มีความหนืดจะเป็นลักษณะเดียวกับการไหลของฟองอากาศผ่านน้ำ และยังพบว่าความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนที่ของฟองอากาศเป็นสัดส่วนผกผันกับความหนืดของของเหลว |
th_TH |