dc.description.abstract |
The objectives of this study were 1) to investigate the Thai tourist's behaviors in using eco lodges services; 2) to evaluate the Thai tourist's satisfaction in using the services of eco lodges. This is quantitative research, the sample consisted of 385 Thai tourists who had used eco lodges services in Chiang Mai Province. The questionnaire was used as the main instrument for collecting data. In addition, the statistical methods are used in data analysis include frequency distribution, percentage, arithmetic mean (X̅), standard deviation (S.D.), T-Test for mean differences, and one-way analysis of variance (ANOVA). The results of the research was as follows:
1. Majority of respondents were female, they were between 20-29 years of age, single, held a bachelor's degree or equivalent, being a student, and the average monthly income is less than or equal to 15,000 baht.
2. Thai tourist's behaviors in using eco lodges services: the amount of times that respondents have used the eco lodges over a seven-year period was this is their first stay, with a duration of stay of 2 nights, the most time to use the service is on weekends, the majority of respondents visit with their families, the purpose is to relax, the activities in eco lodges that they are interested in are nature study activities, most of the consumption during their stay is between 1,001 – 2,000 baht, plan to book accommodation are done through travel apps, and the most popular way to get information about eco lodges is information search by themselves.
3. Thai tourist's satisfaction in using the services of eco lodges: they are satisfied at a high level (X̅ = 4.19, S.D. = 0.49). For the satisfaction of the service, when each aspect was considered, there were different levels of satisfaction. The respondents' satisfaction in using the services of eco lodges that were most reported in the survey was the satisfaction with good hospitality of the staff in the eco lodges (X̅ = 4.33, S.D = 0.57).
4. The comparisons of satisfaction in using the services of eco lodges with classified by their gender, education level, occupation, average monthly income indicated that there was a statistically significant difference at the 0.05 level. However, when classified by their gender and marital status, there was no statistically significant difference at the 0.05 level. |
|
dc.description.abstractthai |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมในการใช้บริการที่พักเชิงนิเวศ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เคยใช้บริการที่พักเชิงนิเวศในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X̅) การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (T-Test) และการใช้ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอาชีพนักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท
2. พฤติกรรมการใช้บริการที่พักเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในจำนวนครั้งที่เคยเข้าใช้บริการที่พักเชิงนิเวศในระยะเวลา 7 ปี ของผู้ตอบตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ เข้าพักเป็นครั้งแรก โดยมีระยะเวลาในการเข้าพัก 2 คืน ช่วงเวลาในการเดินทางเข้าใช้บริการมากที่สุด คือ วันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เข้าพักร่วมกันกับครอบครัว มีวัตถุประสงค์ในการเข้าพัก คือ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และมีความสนใจในกิจกรรมในที่พักเชิงนิเวศ คือ กิจกรรมที่ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ มีค่าใช้จ่าย ในการเข้าพักส่วนใหญ่อยู่ที่ 1,001 - 2,000 บาท มีการวางแผนในการจองที่พักโดยจองผ่านแอปพลิเคชั่น และช่องทางที่ได้รับข้อมูลที่พักเชิงนิเวศ คือ ค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง มากที่สุด
3. ความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.19, S.D. = 0.49) และเมื่อพิจารณารายด้านของความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการที่พักเชิงนิเวศ พบว่า มีระดับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน โดยความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการที่พักเชิงนิเวศของผู้ตอบแบบสอบถามรายด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความพึงพอใจต่ออัธยาศัยที่ดีของพนักงานในที่พักเชิงนิเวศ (X̅ = 4.33, S.D = 0.57)
4. การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการที่พักเชิงนิเวศ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อจำแนกตามอายุ และสถานภาพ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 |
|