DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรมในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา
dc.contributor.author กชพรรณ สุขผล
dc.contributor.author กาญฑิตา แสงจำปา
dc.contributor.author กุญช์พีรญา เตชะโรจน์ตระกูล
dc.contributor.author ชญาทิพย์ มานิกบุตร์
dc.contributor.author ชมพูนุช ชลอทรัพย์
dc.contributor.author ฐิติมา ยังศิริ
dc.contributor.author ปิยธิดา สูญกลาง
dc.contributor.author สุนิตา ขินแก้ว
dc.date.accessioned 2023-01-09T07:27:28Z
dc.date.available 2023-01-09T07:27:28Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27725
dc.language th
dc.publisher คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
dc.subject การตัดสินใจ
dc.subject การท่องเที่ยว
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรม
dc.subject Dark Tourism
dc.subject Tourism Motivation
dc.subject Marketing Mix
dc.subject Thana Tourism
dc.subject Black Tourism
dc.subject Decision Process
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรมในประเทศไทย
dc.title.alternative Factors Influencing Travel Decision-Making on Dark Tourism in Thailand
dc.type Working Paper
dc.description.abstractthai การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรมในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยมีประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรมในประเทศไทย จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้รูปแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Interview) ซึ่งทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x) การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) และการใช้ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) ในกรณีพบค่าความแตกต่างเป็นรายกลุ่ม คณะผู้วิจัยจะวิเคราะห์ความแตกต่างนั้นเป็นรายคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) แบบ Enter และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ด้าน อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรมในประเทศไทยที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ปัจจัยแรงจูงใจทางกายภาพ แรงจูงใจทางวัฒนธรรม และแรงจูงใจทางสถานภาพและชื่อเสียง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรมในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดด้านการสร้างประสบการณ์ ด้านความคุ้มค่า ด้านการเข้าถึงผู้บริโภค และด้านการสร้างความสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงโศกนาฏกรรมในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics