dc.date.accessioned |
2022-10-05T08:09:05Z |
|
dc.date.available |
2022-10-05T08:09:05Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25114 |
|
dc.language |
th |
|
dc.publisher |
กรมทรัพย์สินทางปัญญา |
|
dc.subject |
สิทธิบัตร |
|
dc.title |
อุปกรณ์เคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดสารฮีสตามีนโดยใช้ขั้วไฟฟ้ากราฟีนและวิธีการตรวจวัดสารฮีสตามีนด้วยอุปกรณ์ดังกล่าว |
|
dc.type |
Patent |
|
dc.contributor.inventor |
วีณา เสียงเพราะ |
|
dc.contributor.inventor |
ปรางค์ทิพย์ นาคทอง |
|
dc.contributor.assignee |
มหาวิทยาลัยศรินครินทรวิโรฒ |
|
dc.identifier.patentnumber |
18014 |
|
dc.description.abstractthai |
การประดิษฐ์นี้เสนออุปกรณ์เคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดสารอีสตามีนแบบใหม่ โดยใช้ขั้วไฟฟ้า กราฟีนแบบพิมพ์สกรีนบนฐานแผ่นใส ซึ่งประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 3 ขั้ว ได้แก่ ขั้วไฟฟ้าใช้งานที่มีองค์ประกอบ เป็นกราฟีนที่ไม่มีการดัดแปรผิวหน้าของขั้วไฟฟ้าขั้วไฟฟ้าอ้างอิงที่มีองค์ประกอบเป็นซิลเวอร์/ซิลเวอร์คลอไรด์ และขั้วไฟฟ้าช่วยที่มีองค์ประกอบเป็นกราฟีน เมื่อนำอุปกรณ์เคมีไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้ในการตรวจวัดสารอีสตามีนด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้า โดยวัดค่ากระแสด้วยเทคนิคสแควร์-เวฟ โวลแทมเมทรี ทำการสแกนศักย์ไฟฟ้า ตั้งแต่ 0.0 ถึง +0.8 โวลต์โดยใช้ค่าแฮมพลิจูดเท่ากับ 0.075 โวลต์ ค่าการเพิ่มขึ้นของศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ 0.020 โวลต์ และค่าความถี่เท่ากับ 25 เฮิรตซ์ ซึ่งสามารถตรวจวัดปริมาณอีสตามีนอยู่ในช่วงความเข้มข้น 5 ถึง 100ppm โดยวิธีการประดิษฐ์นี้มีจุดเด่นคือ เป็นอุปกรณ์เคมีไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กพกพาสะดวกใช้งานง่าย ให้ผลการ ตรวจวัดที่รวดเร็ว อีกทั้งมีราคาถูกอีกด้วย การประดิษฐ์นี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทางอุตสาหกรรมอาหารสำหรับการประเมินคุณภาพความสดของปลา
------------
หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า
บทสรุปการประดิษฐ์
การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนาอุปกรณ์เคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจวัดปริมาณอีสตามีน โดยใช้
ขั้วไฟฟ้ากราฟีนแบบพิมพ์สกรีนบนฐานแผ่นใส และนำอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นไปใช้ในการตรวจวัด
ปริมาณฮีสตามีนด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้า โดยสามารถตรวจวัดปริมาณฮีสตามีนอยู่ในช่วงความเข้มข้น 5 ถึง
100 ppm ซึ่งวิธีการประดิษฐ์นี้มีจุดเด่นคือ เป็นอุปกรณ์เคมีไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ใช้งานง่าย
ให้ผลการตรวจวัดที่รวดเร็ว มีราคาถูก อีกทั้งสามารถพกพาไปทดสอบในภาคสนามได้อีกด้วย การ
ประดิษฐ์นี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการนำไปใช้งานด้านการประมงและด้านอุตสาหกรรมอาหาร
สำหรับการประเมินคุณภาพความสดของปลาและผลิตภัณฑ์ของปลา ในระหว่างกระบวนการการผลิต
การเก็บรักษา และการขนส่งไปสู่ผู้บริโภค |
|