dc.contributor.advisor |
ทวีชัย อวยพรกชกร |
th_TH |
dc.contributor.author |
ศศิธร เจนขบวน |
th_TH |
dc.contributor.author |
วริษฐา จันทร์ฤทธิ์ |
th_TH |
dc.contributor.author |
นภัสวรรณ์ งามดี |
th_TH |
dc.date.accessioned |
2022-09-20T06:14:50Z |
|
dc.date.available |
2022-09-20T06:14:50Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25011 |
|
dc.description.abstract |
Cervical cancer is the leading cause of death for many women around the world.
Cervical cancer screening to plan a treatment before cancer develops can reduce the chance of death. This engineering project aims to study and improve a probe model for detecting precancerous tissue of the cervix using Electrical Impedance Tomography technique, since electrical impedance can be used to separate normal and abnormal tissue. Moreover, this project aims to study the effect of noise on the developed probe pattern. This research desires to detect cervical precancerous CIN 2/3 in both, CIN point and CIN oval. The planar electrode probe was designed for 12 patterns in a rectangular, circle, and oval shape with 4 mm of diameter and side length. The electrode size used was 0.5 mm using 4, 7, 8, and 9 electrodes. All patterns cannot locate precancerous
positions beneath electrode and outside electrode layout. All designed planar electrode probes were not significantly different in identifying the spreading of cervical precancerous around cervical orifice (CIN oval) but significantly different in identification of spot cervical precancerous (CIN Point). As, the average of center error of 9CIR layout is the lowest at 0.39. Moreover, it can receive noise intensity from 40 dB or more. In terms of manufacturing, the 7CIR layout is recommended as the electrode gap is 3 times greater than the 9CIR layout, while the center error is only increased by 0.48 mm, making it easier to construct with lower production costs. |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาการใช้อิเล็กโทรดรูปแบบหัวโพรบ (Probe) ในการตรวจหาพยาธิสภาพก่อนมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิคการสร้างภาพความนำไฟฟ้า |
th_TH |
dc.title.alternative |
A study using planar electrode probe to detect precancerous tissue of cervix based on electrical impedance tomography |
th_TH |
dc.type |
Working Paper |
th_TH |
dc.subject.keyword |
มะเร็งปากมดลูก |
th_TH |
dc.subject.keyword |
ารแบ่งตัวอย่างผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อปากมดลูก |
th_TH |
dc.subject.keyword |
การสร้างภาพแรงต้านทานจากการวัดค่าการนำไฟฟ้า |
th_TH |
dc.description.abstractthai |
มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อวางแผนการรักษาก่อนการลุกลามเป็นมะเร็งช่วยลดโอกาสการเสียชีวิต ดังนั้นโครงงานวิศวกรรมนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบหัวโพรบในการตรวจหาพยาธิสภาพก่อนมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิคการสร้างภาพความนำไฟฟ้า (Electrical Impedance Tomography: EIT) เนื่องจากความต้านทานไฟฟ้า (Impedance) สามารถแยกเนื้อเยื่อที่ปกติกับผิดปกติได้ รวมถึงศึกษาความไวต่อสัญญาณรบกวนของรูปแบบหัวโพรบที่พัฒนา โดยในการทดลองต้องการระบุตำแหน่งพยาธิสภาพก่อนมะเร็งปากมดลูกในระยะ CIN 2/3 ทั้งแบบจุด (CIN point) และแบบรอบวงปากมดลูก (CIN oval) โดยออกแบบหัวโพรบอิเล็กโทรด 12 รูปแบบ ในรูปแบบสี่เหลี่ยม (Rectangular shape) วงกลม (Circular shape) และวงรี (Oval shape)ให้ด้านกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง และเส้นผ่านศูนย์กลางแกนโทมีขนาด 4 มิลลิเมตร ใช้อิเล็กโทรดขนาด 0.5 มิลลิเมตร จำนวน 4 7 8 และ 9 อิเล็กโทรด โดยทุกรูปแบบไม่สามารถระบุตำแหน่งพยาธิสภาพก่อนมะเร็งปากมดลูกที่ทับอิเล็กโทรดพอดีหรืออยู่นอกบริเวณอิเล็กโทรดนั้นได้ หัวโพรบอิเล็กโทรดทุกรูปแบบมีประสิทธิภาพในการระบุระยะลุกลามพยาธิสภาพก่อนมะเร็งแบบรอบวงปากมดลูก (CIN oval) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่การระบุตำแหน่งพยาธิสภาพก่อนมะเร็งปากมดลูกแบบจุด (CIN point) มีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรูปแบบ 9CIR มีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด คือ 0.39 มิลลิเมตร รวมถึงสามารถรับความเข้มสัญญาณรบกวนได้ตั้งแต่ 40 dB ขึ้นไป ในแง่การผลิตแนะนำรูปแบบ 7CIR เนื่องจากระยะห่างอิเล็กโทรดมากกว่ารูปแบบ 9CIR ถึง 3 เท่าขณะที่ center error เพิ่มขึ้นเพียง 0.48 มิลลิเมตร ทำให้ผลิตง่ายและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้ |
th_TH |