dc.contributor.author |
สายธิดา ลาภอนันตสิน |
|
dc.contributor.author |
ญาณิศา สงเคราะห์ผล |
|
dc.contributor.author |
ณัฐนันท์ฤทธิ์สาเร็ |
|
dc.contributor.author |
สุนิศา จามจุรี |
|
dc.date.accessioned |
2022-09-07T08:17:43Z |
|
dc.date.available |
2022-09-07T08:17:43Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/113665 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24951 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.subject |
ankle-brachial index |
|
dc.subject |
blood pressure |
|
dc.subject |
exercise |
|
dc.subject |
massage |
|
dc.title |
ผลทันทีของการนวด การออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen และแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้าต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย และอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในคนหนุ่มสาว |
|
dc.title.alternative |
Immediate effects of massage, Buerger-Allen exercise and weight bearing exercise on peripheral blood flow and skin temperature of foot in young adults. |
|
dc.type |
Article |
|
dc.identifier.bibliograpycitation |
วารสารกายภาพบำบัด, ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (2016): มกราคม-เมษายน 2559 |
|
dc.description.abstractthai |
ที่มาและความสำคัญ: พบว่ามีหลายวิธีการที่สามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายบริเวณเท้าได้ เช่น การนวด การออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen และการออกกำลังกายแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการศึกษาใดเปรียบเทียบถึงประสิทธิผลของ 3 วิธีการดังกล่าว วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทันทีของการนวด การออกกำลังกายแบบ Buerger- Allen และแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้า ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในคนหนุ่มสาว
วิธีการ: คนหนุ่มสาวสุขภาพดี อายุเฉลี่ย 20.87 ± 1.20 ปี จำนวน 30 คนเข้าร่วมการวิจัยโดยทำการทดลองในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 25-27 ˚c ด้วย 4 สภาวะแบบสุ่ม คือ 1) ควบคุม (นอนหงายราบนาน 30 นาที), 2) นวดจากเท้าถึงขาท่อนล่าง (M) 30 นาที, 3) ออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen (B) 30 นาที, และ 4) ออกกำลังกายแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้า (W) 30 นาที โดยแต่ละสภาวะเว้นระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ และวัดค่าตัวแปรศึกษาคือ ค่าดัชนีความดันโลหิตบริเวณข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขน (ABI) และอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้า (T) ก่อนและหลังได้รับการทดลองในแต่ละสภาวะทันที แล้ววิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย two-way repeated measures ANOVA ผลการศึกษา: พบว่าปฏิกิริยาระหว่างสภาวะที่ได้รับกับระยะเวลามีผลต่อค่า ABI อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.023) โดยพบว่าค่า ABI ลดลงทันทีหลังได้รับโปรแกรม M และ W ขณะที่หลังโปรแกรม B มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่า ABI สูงขึ้นเช่นเดียวกับสภาวะควบคุม นอกจากนี้พบว่าปัจจัยด้านระยะเวลาและปฏิกิริยาระหว่างสภาวะกับระยะเวลามีผลต่อค่า T อย่างมีนัยสำคัญตามลำดับ (p = 0.001, p=0.009) โดยพบว่าหลังทุกสภาวะมีค่า T ลดลงยกเว้นหลังได้รับโปรแกรม M เท่านั้นที่สามารถรักษาอุณหภูมิให้ค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง สรุปผลการศึกษา: การนวดและการออกกำลังกายแบบมีการลงน้ำหนักที่เท้ามีผลทันทีต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายบริเวณเท้าชัดเจนกว่าการออกกำลังกายแบบ Buerger-Allen ในทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของค่า ABI และ T ทันทีหลังการได้รับโปรแกรมดังกล่าวที่พบในการศึกษานี้ยังไม่ชัดเจนในทางคลินิก จึงควรมีการศึกษาถึงผลระยะยาวและผลต่อผู้ที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่อไป |
|