DSpace Repository

การสำรวจปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางการยศาสตร์ในผู้ประกอบอาชีพ เพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Show simple item record

dc.contributor.author ผกาภรณ์ พู่เจริญ
dc.contributor.author อรพินท์ การุณทรัพย์เจริญ
dc.date.accessioned 2022-09-07T08:17:42Z
dc.date.available 2022-09-07T08:17:42Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/114454
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24928
dc.language.iso th
dc.subject ergonomic
dc.subject ergonomic associated factors
dc.subject agriculturist
dc.subject work tasks
dc.subject musculoskeletal problems
dc.title การสำรวจปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางการยศาสตร์ในผู้ประกอบอาชีพ เพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
dc.title.alternative Survey of musculoskeletal disorder and ergonomicassociated factors in flower agriculturist atklong 15Village, Ongkarakdistrict, Nakhon-Nayok province.
dc.type Article
dc.identifier.bibliograpycitation วารสารกายภาพบำบัด ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (2015): มกราคม-เมษายน 2558
dc.description.abstractthai วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจปัญหาของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและปัจจัยทางการยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ผู้ร่วมวิจัย: ผู้ประกอบอาชีพเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ที่เช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 222 คน วิธีวิจัย: รวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน พ.ศ. 2554 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Chi-square test ผลการวิจัย: พบผู้มีปัญหาของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 184 คน (82.88%) ทุกคนมีปัญหาอย่างน้อย 1 ตำแหน่งของร่างกาย ตำแหน่งที่พบปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง ด้านหน้าเข่า บริเวณด้านหน้าและด้านหลังของไหล่ ปัจจัยด้านบุคคล คือเพศ อายุ อายุการทำงานเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ความพึงพอใจในการประกอบอาชีพ ประวัติการประกอบอาชีพอื่นมาก่อนเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับอาชีพเสริมและโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาของกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .001) ระหว่างงานในขั้นตอนการจำหน่าย (ปัจจัยด้านงาน) และการทำงานกลางแดดในขั้นตอนจำหน่าย (ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม) กับการเกิดปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จึงควรศึกษาต่อไปเพื่อค้นหาขั้นตอนงานที่มีความเสี่ยงสูงและวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics