dc.contributor.author |
สายธิดา ลาภอนันตสิน |
|
dc.contributor.author |
สิริกานต์ เจตนประกฤต |
|
dc.contributor.author |
เรืองรักษ์ อัศราช |
|
dc.contributor.author |
วาธินี อินกล่ำ |
|
dc.contributor.author |
ศิรประภา จำนงผล |
|
dc.date.accessioned |
2022-09-07T08:17:42Z |
|
dc.date.available |
2022-09-07T08:17:42Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/149240 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24923 |
|
dc.description.abstract |
Peripheral neuropathy is usually found in diabetes because a chronic high blood sugar level damages the blood vessels that supply to nerves. This causes sensation impairment and muscle weakness. From literature review, massage and exercise can improve blood circulation and exercise also helps to reduce blood sugar. Therefore, the study aims to determine the effects of massage with exercise for improving peripheral vascular circulation on neuropathic symptoms of lower limbs in Type 2 Diabetes. Thirteen volunteers with diabetic peripheral neuropathy (DPN), mean age 59.92±8.45 yrs, were randomized to 2 groups; 1) massage (n=9), and 2) massage with exercise (n=4). All participants were assessed neuropathic symptoms by the Michigan Neuropathy Screening Instrument (MNSI) and muscle forces of ankle dorsiflexor (DF) and plantar flexor (PF) by hand-held dynamometer before enrolled in the study. The massage group (M) was taught how to massage their feet and lower legs by themselves (40 min/time). The massage with exercise group (ME) was taught how to massage and exercise by themselves (15 min of massage plus 25 min of exercise, total 40 min/time). Both groups did the intervention as a home-program 3 times a week for 4 weeks. After 4 weeks, the MNSI, DF and PF were re-assessed. The Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test was used to compare data within group between pre-post training. The Mann-Whitney U test was used to compare data between groups. At post-training, the MNSI scores were significantly reduced, comparing with pre-training, in both M and ME (p=0.004 and p=0.034 respectively), but there was no difference between groups. An increase in the PF force after training of ME was more than that of M significantly (p=0.045), while a significant increase in the DF force after training was found only in ME group (p=0.034).This pilot study found that massage relieved DPN symptoms in terms of sensory improvement. Whereas, the massage with exercise protocol of this study improved sensation and also forces of DF and PF significantly. However, it should be confirmed the study in a larger sample size for the more reliable results. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.subject |
diabetic peripheral neuropathy |
|
dc.subject |
MNSI |
|
dc.subject |
massage |
|
dc.subject |
therapeutic exercise |
|
dc.title |
ผลของการนวดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่ออาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การศึกษานำร่อง |
|
dc.title.alternative |
Effect of massage with peripheral vascular circulation exercise on neuropathic symptoms of lower legs in type 2 diabetic patients: a pilot study |
|
dc.type |
Article |
|
dc.identifier.bibliograpycitation |
วารสารกายภาพบำบัด, ปีที่ 36 ฉบับที่ 3
กันยายน - ธันวาคม 2557 |
|
dc.description.abstractthai |
ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเรื้อรังจะทำลายผนังหลอดเลือดที่เลี้ยงเส้นประสาท ทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการรับความรู้สึกบกพร่องและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการนวดและการออกกำลังกายสามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือด อีกทั้งการออกกำลังกายยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายต่ออาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการวิจัย อาสาสมัครที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมบริเวณขาส่วนล่างจากเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 13 คน อายุเฉลี่ย 59.92±8.45 ปี สุ่มแบ่ง 2 กลุ่มคือ กลุ่มนวด (n=9) และกลุ่มนวดร่วมกับการออกกำลังกาย (n=4) ทุกคนรับการตรวจประเมินอาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมด้วย Michigan Neuropathy Screening Instrument (MNSI) และวัดแรงกล้ามเนื้อ ankle dorsiflexor (DF) และ plantar flexor (PF) ด้วย hand-held dynamometer กลุ่มนวด (M) ได้รับการสอนนวดเท้าและขาส่วนล่าง (นวด40 นาที/ครั้ง) สำหรับกลุ่มนวดร่วมกับการออกกำลังกาย (ME) ได้รับการสอนนวดและออกกำลังกาย (นวด15 นาที และออกกำลังกาย 25 นาที, รวม40 นาที/ครั้ง) โดยให้ทั้งสองกลุ่มฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมที่ได้รับด้วยตนเองที่บ้าน 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นทุกคนได้รับการตรวจประเมิน MNSI, DF และ PF อีกครั้ง เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อน-หลังการฝึกภายในกลุ่มด้วยสถิติ Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนน MNSI หลังฝึกของกลุ่ม M กับ ME ลดลงจากก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p=0.004 และ p=0.034 ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม และพบผลของการฝึกทำให้แรงกล้ามเนื้อ PF ของกลุ่ม ME เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่ม M อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.045) ส่วนแรงกล้ามเนื้อ DF เพิ่มขึ้นจากก่อนฝึกเฉพาะในกลุ่ม ME เท่านั้น (p=0.034) สรุปการศึกษานำร่องนี้พบว่าการนวดช่วยบรรเทาอาการเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมโดยสามารถช่วยให้การรับความรู้สึกดีขึ้น ขณะที่ การนวดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายของการศึกษานี้ช่วยให้การรับความรู้สึกดีขึ้นและช่วยเพิ่มแรงกล้ามเนื้อ DF และ PF ขึ้นร่วมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อยืนยันผลการศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น |
|