dc.contributor.author |
กานดา ชัยภิญโญ |
|
dc.contributor.author |
บุลวัชร์ เตรียมพิทักษ์ |
|
dc.contributor.author |
สราวุธ ยศไธสง |
|
dc.contributor.author |
ณัฐพงษ์ ดำบรรพ์ |
|
dc.contributor.author |
เอนก สืบเพ็ง |
|
dc.date.accessioned |
2022-09-07T08:17:42Z |
|
dc.date.available |
2022-09-07T08:17:42Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/149010 |
|
dc.identifier.uri |
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24920 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.subject |
Anterior knee pain |
|
dc.subject |
exercise |
|
dc.subject |
functional performance test |
|
dc.title |
ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกางและเหยียดข้อสะโพกร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าที่มีผลต่อ functional performance ในผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าด้านหน้า |
|
dc.title.alternative |
Effects of hip extensor and abductor with knee extensor exercise on functional performance in participants with anterior knee pain |
|
dc.type |
Article |
|
dc.identifier.bibliograpycitation |
วารสารกายภาพบำบัด, ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (2014) : มกราคม-เมษายน 2557 |
|
dc.description.abstractthai |
บทนำ: การรักษาหลักสำหรับอาการปวดข้อเข่าด้านหน้าคือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อเข่าและข้อสะโพก เพื่อลดอาการปวดเข่า และเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว แต่งานวิจัยที่ผ่านมายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการออกกำลังกายข้อสะโพกพร้อมกับข้อเข่าจะให้ผลดีกว่าการออกกำลังกายข้อเข่าอย่างเดียวอย่างไร
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกางและเหยียดข้อสะโพกร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า (HKE) ใน closed kinetic chainเปรียบเทียบกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าเพียงอย่างเดียว (KE) ต่ออาการปวดและความสามารถในการเคลื่อนไหวในผู้ที่ปวดเข่าด้านหน้า
วิธีดำเนินงานวิจัย: ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้มีอาการปวดข้อเข่าทางด้านหน้ามาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ประเมินอาการปวดและความสามารถในการเคลื่อนไหวโดยใช้ Kujala's Anterior Knee Pain Score (KAKPS) และทดสอบในท่า Step down test (SDT) และ Single leg squat (SLS) โดยประเมินระดับความเจ็บปวด(VAS) ขณะทดสอบและจำนวนครั้งที่สามารถทำได้ในเวลา 30 วินาที สุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ออกกำลังกายข้อสะโพกพร้อมกับข้อเข่า (Hip & Knee exercise, HKE) กลุ่มที่ออกกำลังข้อเข่าอย่างเดียว (Knee exercise, KE) และกลุ่มควบคุม (Control) ตามลำดับโดยออกกำลังกาย10 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน 5 วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมิน KAKPS, SDT และ SLS ทุกสัปดาห์ วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ค่าความแตกต่างของสัปดาห์ที่ 4 กับตอนเริ่มต้นในการเปรียบเทียบผลระหว่าง 3 กลุ่ม โดยใช้สถิติ One way-ANOVA ที่ p<.05
ผลการวิจัย : ผู้เข้าร่วมการวิจัย 22 คน (หญิง 18 คนและชาย 4 คนอายุ 19-22 ปี BMI 20.9+4.8 Kg/m2) ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของค่าตัวแปรที่วัดก่อนการทดสอบ ผลการเปรียบเทียบหลังการออกกำลังกายระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่ม HKE และกลุ่ม KE มีการเพิ่มขึ้นของ KAKPS (HKE =16.9+5.6, KE=13.5+ 8.7) มากกว่ากลุ่มควบคุม (4.6+ 5.5, p<.05) แต่ไม่พบความแตกต่างของกลุ่ม HKE กับกลุ่ม KE และพบว่ากลุ่ม HKE มีระดับความปวดขณะทำ SDT ลดลง (2.8+1.6) มากกว่ากลุ่ม KE (1.2+1.4) และมากกว่ากลุ่มควบคุม (1.3+ 1.4)แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มเมื่อประเมินจากจำนวนครั้งที่ทำ SDT และ SLS เช่นเดียวกับระดับความปวดขณะทำ SLS ที่ไม่พบแตกต่างระหว่างกลุ่ม
สรุปผลการวิจัย: การออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดและกางข้อสะโพกร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวขณะทำ SDT ได้ดีกว่าเมื่อประเมินด้วย KAKPS และลดอาการปวดขณะก้าวลงบันไดได้มากกว่าการออกกำลังกายข้อเข่าอย่างเดียว แต่จำนวนครั้งที่สามารถทำ SDT และ SLS ไม่แตกต่างกัน |
|