DSpace Repository

ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกางและเหยียดข้อสะโพกร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าที่มีผลต่อ functional performance ในผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าด้านหน้า

Show simple item record

dc.contributor.author กานดา ชัยภิญโญ
dc.contributor.author บุลวัชร์ เตรียมพิทักษ์
dc.contributor.author สราวุธ ยศไธสง
dc.contributor.author ณัฐพงษ์ ดำบรรพ์
dc.contributor.author เอนก สืบเพ็ง
dc.date.accessioned 2022-09-07T08:17:42Z
dc.date.available 2022-09-07T08:17:42Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/149010
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24920
dc.language.iso th
dc.subject Anterior knee pain
dc.subject exercise
dc.subject functional performance test
dc.title ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกางและเหยียดข้อสะโพกร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าที่มีผลต่อ functional performance ในผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าด้านหน้า
dc.title.alternative Effects of hip extensor and abductor with knee extensor exercise on functional performance in participants with anterior knee pain
dc.type Article
dc.identifier.bibliograpycitation วารสารกายภาพบำบัด, ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (2014) : มกราคม-เมษายน 2557
dc.description.abstractthai บทนำ: การรักษาหลักสำหรับอาการปวดข้อเข่าด้านหน้าคือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อเข่าและข้อสะโพก เพื่อลดอาการปวดเข่า และเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว แต่งานวิจัยที่ผ่านมายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการออกกำลังกายข้อสะโพกพร้อมกับข้อเข่าจะให้ผลดีกว่าการออกกำลังกายข้อเข่าอย่างเดียวอย่างไร วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกางและเหยียดข้อสะโพกร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า (HKE) ใน closed kinetic chainเปรียบเทียบกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าเพียงอย่างเดียว (KE) ต่ออาการปวดและความสามารถในการเคลื่อนไหวในผู้ที่ปวดเข่าด้านหน้า วิธีดำเนินงานวิจัย: ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้มีอาการปวดข้อเข่าทางด้านหน้ามาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ประเมินอาการปวดและความสามารถในการเคลื่อนไหวโดยใช้ Kujala's Anterior Knee Pain Score (KAKPS) และทดสอบในท่า Step down test (SDT) และ Single leg squat (SLS) โดยประเมินระดับความเจ็บปวด(VAS) ขณะทดสอบและจำนวนครั้งที่สามารถทำได้ในเวลา 30 วินาที สุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ออกกำลังกายข้อสะโพกพร้อมกับข้อเข่า (Hip & Knee exercise, HKE) กลุ่มที่ออกกำลังข้อเข่าอย่างเดียว (Knee exercise, KE) และกลุ่มควบคุม (Control) ตามลำดับโดยออกกำลังกาย10 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน 5 วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมิน KAKPS, SDT และ SLS ทุกสัปดาห์ วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ค่าความแตกต่างของสัปดาห์ที่ 4 กับตอนเริ่มต้นในการเปรียบเทียบผลระหว่าง 3 กลุ่ม โดยใช้สถิติ One way-ANOVA ที่ p<.05 ผลการวิจัย : ผู้เข้าร่วมการวิจัย 22 คน (หญิง 18 คนและชาย 4 คนอายุ 19-22 ปี BMI 20.9+4.8 Kg/m2) ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของค่าตัวแปรที่วัดก่อนการทดสอบ ผลการเปรียบเทียบหลังการออกกำลังกายระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่ม HKE และกลุ่ม KE มีการเพิ่มขึ้นของ KAKPS (HKE =16.9+5.6, KE=13.5+ 8.7) มากกว่ากลุ่มควบคุม (4.6+ 5.5, p<.05) แต่ไม่พบความแตกต่างของกลุ่ม HKE กับกลุ่ม KE และพบว่ากลุ่ม HKE มีระดับความปวดขณะทำ SDT ลดลง (2.8+1.6) มากกว่ากลุ่ม KE (1.2+1.4) และมากกว่ากลุ่มควบคุม (1.3+ 1.4)แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มเมื่อประเมินจากจำนวนครั้งที่ทำ SDT และ SLS เช่นเดียวกับระดับความปวดขณะทำ SLS ที่ไม่พบแตกต่างระหว่างกลุ่ม สรุปผลการวิจัย: การออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดและกางข้อสะโพกร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวขณะทำ SDT ได้ดีกว่าเมื่อประเมินด้วย KAKPS และลดอาการปวดขณะก้าวลงบันไดได้มากกว่าการออกกำลังกายข้อเข่าอย่างเดียว แต่จำนวนครั้งที่สามารถทำ SDT และ SLS ไม่แตกต่างกัน


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics