DSpace Repository

รายงานผลการวิจัย เรื่อง การสังเคราะห์งานวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

Show simple item record

dc.contributor.author นิธิอร พรอำไพสกุล th_TH
dc.contributor.author ผกาศรี เย็นบุตร th_TH
dc.date.accessioned 2022-09-05T07:32:08Z
dc.date.available 2022-09-05T07:32:08Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24823
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี 2559 th_TH
dc.description.abstract This study aimed to synthesize abstracts of studies related to teaching and learning Thai as a foreign language within the period between 1985 and 2015. The target population used in the research was 156 theses/ dissertations and independent studies at the level of master’s degree and doctoral degree. Purposive sampling technique was used in selecting theses/dissertations and independent studies from 14 universities including Srinakharinwirot University, Chulalongkorn University, Silpakorn University, Khon Kaen University, Chiang Mai University, Burapha University, Kasetsart University, Thaksin University, Thammasat University, Chiang Rai Rajabhat University, Rajamangala Thanyaburi University, Ramkhamhaeng University, Dhurakij Pundit University, and Rambhaibarni Rajabhat University. The research instrument was records which summarize the details of studies. The statistical analysis was in frequencies and percentage. The study results revealed that there were 156 studies related to teaching and learning Thai as a foreign language between 2518 and 2558 and the most studied were concerned with technology and innovation in teaching and learning, at the number of 97 studies, which accounted for 62.17 per cent. 33 studies were concerned with behavioral studies of instructors and learners, accounting for 21.29 per cent. These were followed by 19 studies concerning teaching methodologies of Thai as a foreign language at 12.17 per cent, 4 regarding Thai curriculum studies at 2.56 per cent, and 3 in relation to instruction of Thai as a foreign language at 1.92. The topic which was studied least in the field was the analysis of learning materials of Thai as a foreign language, where only 2 studies were found, accounting for only 1.28 per cent. The studies of testing and assessment in the field of teaching and learning Thai as a foreign language were not found. Based on the synthesis, it was found that studies concerning technology and innovation in teaching and learning Thai as a foreign language were experimental studies to investigate the efficiency of tools such as lessons, textbooks, manuals, reading materials, exercises, instructional package, all of which were related to language usage, grammar as well as Thai culture. All the tools in the studies were proved efficient. In terms of research related to behavioral studies of instructors and learners, it was found that instructors conducted a small amount of research, had moderate knowledge about the sound system and grammar, and had needs for curriculum development, instructional activities, teaching techniques, testing and assessment, as well as instructional media. Learners, on the other hand, had problems about listening, speaking, reading and writing skills and had needs for learning materials, exercises, activities and content in Thai language which can be used for work. There were only a few studies which were concerned with both instructors and learners. Problems and obstacles during the conversations between instructors and learners were also found. With regard to instruction of Thai as a foreign language, most studies compared Thai with the native language of learners where emerging issues consequently led to implications for lesson planning and recommendations. For curriculum studies of Thai as a foreign language, it was found that the curriculum could help to develop the language skills of foreign learners. In the aspect of studies concerning the analysis of learning materials of Thai as a foreign language, only a few studies were conducted; however, they could be used as guidelines in teaching and learning Thai as a foreign language. In relation to instruction of Thai as a foreign language, there were issues of undefined curriculum, small number of instructors, and easy content. Moreover, there were suggestions regarding culture in that it should be more applicable to real life. Activities, media, and length of study time should also be enhanced. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ th_TH
dc.title รายงานผลการวิจัย เรื่อง การสังเคราะห์งานวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ th_TH
dc.title.alternative การสังเคราะห์งานวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ th_TH
dc.title.alternative Synthesis of Researches in Teaching Thai as a foreign Language
dc.type Technical Report th_TH
dc.subject.keyword การสังเคราะห์งานวิจัย th_TH
dc.subject.keyword การเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ th_TH
dc.subject.keyword synthesis th_TH
dc.subject.keyword Thai as a foreign language th_TH
dc.description.abstractthai การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์บทคัดย่องานวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2518 – 2558 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ปริญญานิพนธ์วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวน 156 เรื่อง โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากมหาวิทยาลัย จำนวน 14 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกสรุปลักษณะรายละเอียดของงานวิจัย สถิติที่ใช้ในการสังเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2518 –2558 จำนวน 156 เรื่อง เป็นงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศมากที่สุด จำนวน 97 เรื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 62.17 งานวิจัยด้านการศึกษาและสำรวจพฤติกรรมของผู้สอน และผู้เรียน จำนวน 33 เรื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.29 เป็นงานวิจัยด้านวิธีการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จำนวน 19 เรื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.17 งานวิจัยด้านการศึกษาหลักสูตรภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 เรื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.56 งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศจำนวน 3 เรื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.92 และงานวิจัยที่มีจำนวนน้อยที่สุดด้านการวิเคราะห์แบบเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศจำนวน 2 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 1.28 ส่วนงานวิจัยที่ไม่มีผู้ศึกษาเลย คือ งานวิจัยเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนภาษำไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จากการสังเคราะห์งานวิจัยทั้งหมดผู้วิจัยพบว่า งานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ เช่น บทเรียน หนังสือเรียน คู่มือ หนังสืออ่านประกอบ แบบฝึก ชุดการสอน ที่มีเนื้อหาด้านการใช้ภาษา หลักภาษา และวัฒนธรรมไทย ซึ่งพบว่าเครื่องมือมีประสิทธิภาพทุกเล่ม งานวิจัยด้านการศึกษาและสำรวจพฤติกรรมของผู้สอน ผู้เรียน และผู้สอนและผู้เรียน พบว่าด้านผู้สอนมีงานวิจัยเป็นจำนวนน้อย ผู้สอนมีความรู้ด้านระบบเสียง ระบบไวยากรณ์ในระดับปานกลาง มีความต้องการด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน เทคนิควิธีสอน การวัดผลประเมินผล และด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านผู้เรียน มีปัญหาเรื่องทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และหลักภาษา และมีความต้องการด้านแบบเรียน แบบฝึกหัด กิจกรรม และเนื้อหาภาษาไทยที่นำไปใช้ในการทำงานได้ ด้านผู้สอนและผู้เรียนมีงานวิจัย จำนวนน้อย แต่พบปัญหาและอุปสรรคของการสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาของผู้เรียน แล้วนำปัญหาที่พบไปสร้างบทเรียนและเสนอแนวแก้ไขปัญหา งานวิจัยด้านหลักสูตร ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ พบว่า หลักสูตรสามารถพัฒนาการใช้ภาษาของผู้เรียนชาวต่างประเทศได้ งานวิจัยด้านการวิเคราะห์แบบเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศมีจำนวนน้อย แต่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศได้ งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ พบสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนเรื่องหลักสูตรไม่ชัดเจน ผู้สอนมีจำนวนน้อย เนื้อหาวิชาภาษาไทยง่ายเกินไป และได้เสนอแนะเรื่องการสอนวัฒนธรรมว่าควรนำไปใช้ได้จริง ควรเพิ่มกิจกรรม สื่อการสอน และเวลาเรียน th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics