DSpace Repository

รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม

Show simple item record

dc.contributor.author ศุมรรษตรา แสนวา th_TH
dc.date.accessioned 2022-09-02T07:12:54Z
dc.date.available 2022-09-02T07:12:54Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24812
dc.description.abstract This study aimed at examining characteristics of public university libraries regarded as innovative organization, determining factors affecting the development of public university libraries into innovative organization, exploring current condition of public university libraries, and identifying means for developing them into innovation-driven organization. This research was divided into 3 stages. In the first stage, the examination of characteristics of and factors leading to innovative organization was conducted. In the second stage, current conditions of public university libraries were explored. And in the final stage, an evaluation to identify means of developing them into innovative organization was organized. The first stage of research was qualitative research, the second stage was quantitative research, and the third stage was qualitative research. The tools employed for this study were semi-structured interview form, questionnaire, and group discussion. The study sample included 20 members of 5 public university libraries comprising library administrators, librarians, library users and experts. The sample of exploring current conditions of the public university libraries consisted of 271 staff from 26 public university libraries, while the evaluation of guidelines for the development of public university libraries to the innovative organization was evaluated by 8 experts. The collected qualitative data were analyzed by content analysis, and the quantitative ones were analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The results of the research were as follows: 1. The characteristics of public university libraries regarded as innovative organization included 7 items: 1) visionary organization and innovative leader, 2) learning organization, 3) user-centered organization, 4) organization with mindset shifting, 5) organizations with changing roles and work processes; 6) organizations with an open culture; and 7) organizations with cooperative networks.2. There were 5 factors affecting the development of public university libraries into the innovative organization: 1) organization, 2) library administrator, 3) resources and budget, 4) information technology, and 5) library user. 3. The current conditions of public university libraries as innovative organization disclosed that most of them had the characteristics of innovative organization at a high level. In the aspect of innovative organization, it was found that the highest level was the user-centered organization, followed by organizations with changing roles and work processes and learning organization. In the factors affecting the development of public university libraries into the innovative organization, it was found that they had the factors affecting the development of public university libraries into the innovative organization at a high level. When each aspect was considered, the finding revealed that the highest level was library user, followed by information technology and library administrator. 4. The guidelines for development of public university libraries into the innovative organization, the data revealed that the libraries had to develop 3 elements: 1) human resource development, 2) an establishment of library core values, and 3) development of additional supporting factors. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ th_TH
dc.title รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม th_TH
dc.title.alternative การพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม th_TH
dc.title.alternative The Development of Public University Libraries to the Innovative Organization
dc.type Technical Report th_TH
dc.subject.keyword ห้องสมุดมหาวิทยาลัย th_TH
dc.subject.keyword องค์กรนวัตกรรม th_TH
dc.description.abstractthai การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็น องค์กรนวัตกรรม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กร นวัตกรรม 3) ศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 4) สร้าง แนวทางการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาคุณลักษณะของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นองค์กรนวัตกรรม และ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ระยะที่ 2 เป็น การศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ และระยะที่ 3 เป็นการ ประเมินแนวทางการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม การวิจัยระยะที่ 1 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และระยะที่ 3 เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และ แบบประเมินกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ผู้บริหารห้องสมุด บรรณารักษ์ ผู้ใช้บริการ และ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คน จากมหาวิทยาลัยของรัฐ 5 แห่ง เลือกด้วยวิธีเจาะจง กลุ่มตัวอย่างใน การศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด จำนวน 271 คน จากมหาวิทยาลัยจำนวน 26 แห่ง สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และกลุ่มตัวอย่างในการ ประเมินแนวทางการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารห้องสมุดและบรรณารักษ์ จำนวน 8 คน เลือกด้วยวิธีเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. คุณลักษณะของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) องค์กร ที่มีวิสัยทัศน์และผู้นำเชิงนวัตกรรม 2) ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) องค์กรที่เน้นผู้ใช้บริการเป็น ศูนย์กลาง 4) องค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด 5) องค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนบทบาทและ กระบวนการทำงาน 6) องค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบเปิด และ7) องค์กรที่มีเครือข่ายความร่วมมือ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) องค์กร 2) ผู้นำห้องสมุด 3) ทรัพยากรและงบประมาณ 4)เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) ผู้ใช้บริการ 3. สภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่า ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีลักษณะเป็นองค์กรนวัตกรรมมากที่สุด คือ ด้าน องค์กรที่เน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง รองลงมาได้แก่ ด้านการปรับเปลี่ยนบทบาท และกระบวนการ ทำงาน และด้านองค์กรที่มีความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาห้องสมุด มหาวิทยาลัยของรัฐไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมตามสภาพจริง พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผู้ใช้บริการ รองลงมาได้แก่ ด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านผู้นำห้องสมุด 4. แนวทางการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคน 2 ) การพัฒนาค่านิยมขององค์กร และ 3) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics