DSpace Repository

รายงานการวิจัย การศึกษาแนวทางการพัฒนาหนังสือภาพสำหรับเด็กไทยช่วงอายุ 6-9 ปี ที่ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม

Show simple item record

dc.contributor.author อนุสรา ดีไหว้ th_TH
dc.date.accessioned 2022-07-09T13:01:57Z
dc.date.available 2022-07-09T13:01:57Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/22551
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 th_TH
dc.description.abstract The objective of the research is to study the techniques for presenting picture books for Thai children aged 6-9 years to promote social co-existence skills between 2010-2020 for a total of 46 stories. This is a selection of children’s picture book for the children’s fiction category with a focus on promoting social co-existence skills between the ages of 6-9 years created by Thai writers and illustrators and widely published by recognized publishers. It analyzes both content language and illustration according to the principles of children’s picture books and studies the opinions from these picture books from interviews with people involved in various aspects of children and youth namely: academic groups; including primary education scholars, academic of child and youth media production, teachers educating on building citizenship, children’s picture books users; including administrators, elementary school teachers in both public and private schools, children’s library representative, children’s event organizers, parents of children aged 6-9 years, and children’s picture book makers; including publishing houses, book makers and media for children and youth for a total of 23 children’s book writers and illustrators to analyze the development of picture books for Thai children that promote skills of society co-existence appropriately for modern Thai children. The results of the research revealed that the picture book for Thai children that promotes social co-existence skills has not been presented in various strategies. The content is presented in 9 issues; including interaction with others, respecting the rights of others, knowing how to resolve conflicts, emotional control, self-esteem, honesty, unity, seeing common interests rather that personal ones, and not judging others on the outside. The most common content is interacting with others; including kindness and empathy, etc., while the least common content is emotional control. In addition, the authors also popularized the plot with the opening of the story as a narrative, proceeding with a chronological order, and closing the story with a moral lesson of the story making it easy to understand and find the most realistic character creation, but the characters are good characters according to the social ideologies. The use of language is in a direct manner and illustrations are beautiful using a variety of techniques that is able to communicate stories well. However, the emphasis on the use of phraseology rather than visual language can cause the lack of details which is one of the main charms and functions. In this regard, anyone involved with children and youth in various aspects have presented a variety of opinions that can be analyzed on the approaches to develop the picture book. In other words, picture books for children that promote social skills should develop to be more contemporary to accustom with the nature of children today. It should emphasize on promoting emotional awareness and self-understanding first before learning the skills to further understand others to tell stories with various strategies and tactics, and not presenting ideal ideas or conclusions that are readily available. But it should allow children to think and consider stories by themselves and create children’s characters based on their ages, needs, and nature, to let children learn lessons and experiences appropriately for self-development. They should also use illustrations or visual language rather than straightforward instructive language (Didactic Teaching). In addition to the content of co-existence skills presented through children’s picture books, they can also be used to create other media; such as video clips, short animations, music, board games, and interesting card games. It can be useful, as well as further suggesting that creators of children’s books should spend time with children to understand their nature in order to produce picture books that are truly child-appropriate. In addition, both public and private sectors must cooperate in promoting creation and distribution of children’s picture books to a wider audience. A picture book with stories about co-existence skills in society will benefit the targeted group of children. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ th_TH
dc.title รายงานการวิจัย การศึกษาแนวทางการพัฒนาหนังสือภาพสำหรับเด็กไทยช่วงอายุ 6-9 ปี ที่ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม th_TH
dc.title.alternative The Study of the Development of Picture Books for Thai Children (6-9 years old) in the Case of Co-existence in Society th_TH
dc.type Technical Report th_TH
dc.subject.keyword หนังสือภาพสำหรับเด็ก th_TH
dc.subject.keyword ทักษะทางสังคม th_TH
dc.subject.keyword การอยู่ร่วมกันในสังคม th_TH
dc.subject.keyword เด็กอายุ 6-9 ปี th_TH
dc.subject.keyword Children’s picture books th_TH
dc.subject.keyword Social skills th_TH
dc.subject.keyword Co-existence in society th_TH
dc.description.abstractthai งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวีธีการนำเสนอหนังสือภาพสำหรับเด็กไทยช่วงอายุ 6-9 ปี ที่ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมระหว่างปี พ.ศ. 2553-2563 จำนวน 46 เรื่อง ซึ่งคัดเลือกเฉพาะ หนังสือภาพสำหรับเด็กประเภทบันเทิงคดีที่มีเนื้อหามุ่งเน้นเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันใน สังคมช่วงอายุ 6-9 ปี ที่สร้างสรรค์โดยนักเขียนและนักวาดภาพประกอบของไทย และจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับกว้าง โดยวิเคราะห์ทั้งด้านเนื้อหา การใช้ภาษา และภาพประกอบ ตามหลักองค์ประกอบของหนังสือภาพสำหรับเด็ก และศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อหนังสือภาพสำหรับเด็ก ดังกล่าวจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในหลากหลายแง่มุม กล่าวคือ กลุ่มนักวิชาการ ได้แก่ นักวิชาการด้านการประถมศึกษา นักวิชาการด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน นัก การศึกษาด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง กลุ่มผู้ใช้หนังสือภาพสำหรับเด็ก ได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษา ครูระดับประถมศึกษาตอนต้น ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ตัวแทนห้องสมุดสำหรับเด็ก นักจัดกิจกรรมสาหรับเด็ก ผู้ปกครองและเด็กช่วงวัย 6-9 ปี และกลุ่มผู้ผลิตหนังสือภาพสำหรับเด็ก ได้แก่ สำนักพิมพ์ผู้ผลิตหนังสือและสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงนักเขียนและนักวาดภาพประกอบ หนังสือสำหรับเด็ก จำนวน 23 คน เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาหนังสือภาพสำหรับเด็กไทยที่ส่งเสริม ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเด็กไทยในยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่าหนังสือภาพสำหรับเด็กไทยที่ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมมีกลวิธีการ นำเสนอเนื้อหาอยู่ 9 ประเด็น ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การเคารพสิทธิ์ผู้อื่น การรู้จักการแก้ปัญหา ความขัดแย้ง การควบคุมอารมณ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความซื่อสัตย์ ความสามัคคี การเห็น ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และการไม่ตัดสินผู้อื่นแต่ภายนอก ทั้งนี้เนื้อหาที่พบมากที่สุดคือ การ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อันได้แก่ ความมีน้ำใจและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น ส่วนเนื้อหาที่พบน้อย ที่สุด คือ การควบคุมอารมณ์ นอกจากนี้ผู้แต่งยังนิยมวางโครงเรื่องด้วยการเปิดเรื่องแบบบรรยาย ดำเนิน เรื่องตามลำดับปฏิทิน และปิดเรื่องแบบให้ข้อคิดเป็นส่วนใหญ่ การเล่าเรื่องมักจัดลำดับเหตุการณ์ ตามลำดับเวลาที่เกิด แม้จะพบการสร้างตัวละครแบบสมจริงมากที่สุด แต่ตัวละครดังกล่าวยังคงมีนิสัยที่ดี ตามอุดมคติของสังคม ส่วนการใช้ภาษาค่อนข้างชี้นำและสอนสั่งอย่างตรงไปตรงมา ด้านภาพประกอบ นั้นมีความสวยงาม ผู้สร้างสรรค์ใช้เทคนิคที่หลากหลาย สามารถสื่อสารเรื่องราวได้ดี แต่ยังเน้นการใช้ ภาษาถ้อยคำสื่อสารมากกว่าภาษาภาพ ทาให้ขาดรายละเอียดอันเป็นเสน่ห์และหน้าที่หลักประการหนึ่ง ของหนังสือภาพ ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในแง่มุมต่าง ๆ ได้เสนอความคิดเห็นที่หลากหลายซึ่ง สามารถนำมาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาหนังสือภาพดังกล่าวได้ กล่าวคือ ควรมีการพัฒนาหนังสือภาพ สำหรับเด็กที่ส่งเสริมทักษะทางสังคมให้มีความร่วมสมัย สอดรับกับลักษณะและธรรมชาติของเด็กในยุค ปัจจุบันมากขึ้น โดยเน้นการส่งเสริมเนื้อหาเรื่องการรับรู้อารมณ์และเข้าใจตนเองเป็นอันดับแรกก่อนที่จะ เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ในการเข้าใจผู้อื่นต่อไป เล่าเรื่องด้วยกลวิธีที่หลากหลายและมีชั้นเชิง ไม่ควรนำเสนอ ข้อคิดหรือบทสรุปอันเป็นอุดมคติที่สำเร็จรูป แต่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและพิจารณาเรื่องราวด้วย ตนเอง อีกทั้งควรสร้างตัวละครเด็กให้สอดคล้องและสมจริงกับวัย ความต้องการ และธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้บทเรียนและประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและมีพัฒนาการ รวมถึงควรใช้ ภาพประกอบหรือภาษาภาพในการเล่าเรื่องมากกว่าถ้อยคำภาษาอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งนอกจากเนื้อหา ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมจะนำเสนอผ่านหนังสือภาพสำหรับเด็กแล้วยังสามารถนำไปสร้างสรรค์ต่อ ยอดเป็นสื่อประเภทอื่น ๆ เช่น คลิปวิดีโอ แอนิเมชั่นสั้น ๆ บทเพลง บอร์ดเกมและการ์ดเกมที่น่าสนใจก็ จะเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ผู้สร้างสรรค์หนังสือสำหรับเด็กควรใช้เวลาอยู่ กับเด็กและทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กเพื่อผลิตหนังสือภาพที่เหมาะสมกับเด็กอย่างแท้จริง รวมถึงทั้ง ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันในการผลักดันการสร้างสรรค์และการกระจายหนังสือภาพสำหรับเด็กให้ ไปสู่เด็กในวงกว้าง หนังสือภาพที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมจึงจะเกิดประโยชน์ต่อเด็กกลุ่มเป้าหมายได้ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics