DSpace Repository

ชุดอุปกรณ์ตรวจวัณโรค ชนิด มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลซีส

Show simple item record

dc.date.accessioned 2022-06-27T08:14:27Z
dc.date.available 2022-06-27T08:14:27Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/22285
dc.language th
dc.publisher กรมทรัพย์สินทางปัญญา
dc.subject สิทธิบัตร
dc.title ชุดอุปกรณ์ตรวจวัณโรค ชนิด มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลซีส
dc.type Patent
dc.contributor.inventor โกสุม จันทร์ศิริ
dc.contributor.inventor สมชาย สันติวัฒนกุล
dc.contributor.inventor จำรัส พร้อมมาศ
dc.contributor.inventor ธงชัย แก้วพินิจ
dc.contributor.assignee มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
dc.contributor.assignee สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
dc.identifier.patentnumber 9263
dc.description.abstractthai ชุดอุปกรณ์ตรวจวัณโรค ชนิด มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลซีส (Mycobacterium tuberculosis) ใช้ เพื่อการตรวจและป้องกันการระบาดของวัณโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ อาศัยปฏิกิริยาที่เกิดระหว่าง ตัวตรวจจับ (probe) ที่จำเพาะต่อเป้าหมายเกิดขึ้นบนแผ่น ควอทซ์ คริสตัล (quartz crystal) ทำหน้าที่กำเนิด ความถี่ และส่งสัญญาณต่อไปยังวงจรกำเนิดความถี่ โดยสัญญาณความถี่ที่ได้จะถูกส่งต่อไปยังวงจร ประมวลผลหลัก เป็นวงจรรวมประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลนับวัดความถี่ที่เข้ามาจากวงจรกำเนิดความถี่ แล้วจับเวลาเพื่อหาค่าความถี่ที่แท้จริงของสัญญาณที่ได้ แล้วส่งค่าที่วิเคราะห์แล้วไปแสดงผลยังจอแสดงผล (LCD) แสดงผลความถี่ที่วัดได้เป็นแบบตัวเลขดิจิตอลและส่งไปยังคอมพิวเตอร์ผ่านวงจรเชื่อมต่อแบบพอร์ต ส่งสัญญาณออกมาทางจอแสดงผล ซึ่งสัญญาณที่ได้แสดงผลออกมาเป็นกราฟเส้น กรณีไม่เป็นวัณโรค กราฟ สัญญาณความถี่จะแสดงเป็นเส้นตรง แต่กรณีเป็นวัณโรค กราฟสัญญาณความถี่จะแสดงเป็นเส้นโค้งลดลง อุปกรณ์ชุดตรวจวัณโรค ชนิด มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลซีส ตามการประดิษฐ์นี้ (รูปที่ 1 และ 2) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1)ควอทซ์ คริสตัล(quartz crystal)สำหรับตรวจวัดเชื้อวัณโรค และ 2)อุปกรณ์ใน การประมวลผลการตรวจ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวใช้กับแรงดันไฟฟ้าขนาด 12 VAC/DC หลักการทำงานของอุปกรณ์ชุดตรวจวัณโรค ชนิด มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลซีส เริ่มต้นจากเมื่อป้อน ไฟ 9-12 โวลต์ เข้าวงจรไดโอด D11 จะทำหน้าที่ป้องกันการป้อนไฟกลับขั้ว และ C29 ทำให้ไฟเรียบนิ่งขึ้น จากนั้นเชื่อมต่อวงจรเรากูเรเตอร์ประด้วย U4,C102 ทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันไฟฟ้าในวงจรให้คงที่ใน ระดับ 5โวลต์ เพื่อเลี้ยงวงจร ส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์ U1, C80 และ C91 ต่อไว้เพื่อลดสัญญาณรบกวนความถี่สูงจากไฟเลี้ยงใน วงจร U5 เป็นไอซี ทำหน้าที่แปลงการสื่อสารแบบอนุกรมจากไมโครคอนโทรลเลอร์เป็น USB เพื่อสื่อสารกับ คอมพิวเตอร์โดยผ่าน USB port ISO1 และ ISO2 เป็น opto isolator ใช้หลักการเชื่อมต่อทางแสง ทำหน้าที่แยกกราวด์(isolate ground)ระหว่างวงจรวัดกับคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนที่ปะปนมากับกราวด์ของ ตอมพิวเตอร์ ไมโครคอมโทรลเลอร์ เมื่อได้รับไฟเลี้ยงจะทำงานตามโปรแกรมที่เขียนอยู่ภายใน หน้าที่หลักคือ ทำการ รับการกดปุ่ม input ต่างๆ, interface กับ คอมพิวเตอร์ ผ่าน U5 และนับความถี่ที่เข้ามาในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ เพื่อคำนวณหาความถี่ input ด้วยสมการ (สูตรเคมี) F=ความถี่ n=จำนวนรูปคลื่นสัญญาณที่นับได้ในช่วงเวลา t t=ช่วงเวลาในการนับความถี่ ความถี่ที่เข้ามาอาจสูงกว่าความเร็วของไมโครคอมโทรลเลอร์ที่จะรับได้ จึงออกแบบภาคแรกเป็นวงจร หารความถี่ โดยใช้ IC U3 และใช้ฐานเวลาในการวัดที่ 10 วินาที ซึ่งจะทำให้สามารถวัดความถี่ได้สูงถึง 30 MHz โดยมีความละเอียดในการวัดถึง 1 Hz เมื่อทำการวัดและคำนวณหาความถี่ด้านเข้าแล้ว คำสั่งจะแสดงผลออกจอ LCD และส่งไปที่ คอมพิวเตอร์ต่อไป ชุดอุปกรณ์ตรวจดังกล่าว ใช้กับ quartz crystals ความถี่ประมาณ 12 MHz, เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร, เส้นผ่าศูนย์กลางทอง 4 มิลลิเมตรและความหนา 0.2 มิลลิเมตร ทำหน้าที่เป็นโพรบ สำหรับตรวจ วัณโรค ชนิด มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลซีส ชุดอุปกรณ์ตรวจดังกล่าว ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ quartz crystal สำหรับตรวจวัด, ไอซี oscilator ทำให้เกิดการสั่น, ไมโครคอนโทลเลอร์ ทำหน้าประมวลผล การใช้งานของเครื่องมือวัด ใช้แรงดันไฟฟ้า กระแสตรง 12V, ช่องสำหรับเสียบ quartz สำหรับตรวจวัด, ปุ่ม Run 1 ครั้ง สำหรับอ่านค่า บนจอ LCD ส่วน ปุ่ม Run ต่อเนื่อง ประมวลผลโดยผ่าน USB port ไปยัง Computer


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Patents [237]
    A patent is a form of intellectual property

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics